Page 34 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 34

2-16





                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัด มีความสามารถในการอุ้มน้ าต่ า

                  พืชมักแสดงอาการขาดน้ าในช่วงฝนทิ้งช่วงและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                        กลุ่มชุดดินที่ 25
                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน ดินตื้น เกิดจากวัตถุ

                  ต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ าทับอยู่บนชั้นหินผุ พบบริเวณพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ตามลานตะพักล าน้ า
                  ระดับต่ าและระดับกลาง เกิดจากพวกตะกอนล าน้ า หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม
                  ของวัสดุเนื้อหยาบ มีน้ าแช่ขังในฤดูฝน น้ าแช่ขังลึก 30 เซนติเมตร นาน 3-4 เดือน สภาพพื้นที่ราบเรียบ
                  หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการระบายน้ าค่อนข้างเลว ดินมีความสมบูรณ์ตาม
                  ธรรมชาติต่ า

                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เป็นดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า และมีโอกาสที่
                  จะขาดน้ าได้ง่ายในช่วงฤดูเพาะปลูก บางแห่งมีเนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย
                          กลุ่มชุดดินที่ 26

                           กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่
                  กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียด ที่มาจากหินต้นก าเนิดชนิดต่างๆ
                  ซึ่งมีทั้งหินอัคนี หินตะกอนและหินแปร พื้นที่ดอน  พบในเขตที่มีฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ สภาพพื้นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา การระบายน้ าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง

                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ บางบริเวณอาจพบดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าใน
                  บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันและเนื้อดินบนมีทรายปนจะมีอัตราเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินสูง
                  หากมีการจัดการดินไม่เหมาะสม
                          กลุ่มชุดดินที่ 27

                           กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวที่ค่อนข้างร่วนซุย และมีโครงสร้างดี ดินลึกมาก เกิด
                  จากการสลายตัวผุพังของหินภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ พบพื้นที่ดอน พบบริเวณพื้นที่ฝนตกชุก เช่น
                  ภาคตะวันออก สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา การระบายน้ าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม
                  ธรรมชาติปานกลาง

                          ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินมีความสามารถในการซาบซึมน้ าเร็ว จึงมักจะขาด
                  แคลนน้ าได้ง่าย ถ้าหากฝนทิ้งช่วง
                          กลุ่มชุดดินที่ 28

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนล าน้ า หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือเกิดจากการ
                  สลายตัวแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นก าเนิดดินที่มาจากหินต้นก าเนิดพวกหินบะซอลต์หรือ
                  หินแอนดีไซต์ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่อยู่ใกล้กับเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ
                  ค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือ
                  ดินเหนียวจัด

                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เนื้อดินเหนียวจัด การไถพรวนต้องท าในช่วงที่ดิน
                  มีความชื้นพอเหมาะมิฉะนั้นจะท าให้ดินแน่นทึบ ในช่วงฤดูแล้งดินมีการหดตัว ท าให้ดินแตกระแหง
                  เป็นร่องลึก ส่วนในฤดูฝนจะมีน้ าแช่ขังง่าย ท าให้พืชชะงักการเจริญเติบโต







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39