Page 30 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 30

2-12





                  0-2 เปอร์เซ็นต์ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน การระบายน้ าค่อนข้างเลว บางพื้นที่พบในพื้นที่ค่อนข้างดอน

                  ท าให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ า ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง
                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินมีโครงสร้างแน่นทึบ ดินแห้งแข็ง ท าให้
                  ไถพรวนยาก การระบายน้ าค่อนข้างเลว

                          กลุ่มชุดดินที่ 8
                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียว ดินลึกมาก มีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของดิน
                  และอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ า บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วย พบบริเวณที่ราบลุ่ม
                  ชายฝั่งทะเล สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายน้ าค่อนข้างเลว ดินมีความ
                  อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เป็นกลุ่มชุดดินที่มีการยกร่อง เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ดินบน

                  มีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของดินและอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ า ดินล่างมีสีเทา บางแห่ง
                  มีเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วยพบในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเกษตรกรได้ดัดแปลงพื้นที่เพื่อใช้ปลูกไม้ผล
                  ไม้ยืนต้น หรือพืชไร่ ท าให้สภาพผิวดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป

                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติดินเดิมก่อนมีการยกร่อง
                  และแปลงปลูก โดยทั่วไปจะน าดินชั้นล่างที่มีโครงสร้างแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ชั้นดินที่เป็นกรด
                  รุนแรงมาก หรือเป็นดินเค็มมาไว้ที่ผิวดินท าให้ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช
                          กลุ่มชุดดินที่ 9

                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียว ดินลึกมาก มีเศษพืชที่ก าลังเน่าเปื่อยปะปนอยู่ด้วย
                  พบบริเวณที่ราบลุ่มตามชายฝั่งทะเล อาจมีน้ าทะเลหรือน้ ากร่อยท่วมเป็นครั้งคราว สภาพพื้นที่ราบเรียบ
                  หรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายน้ าเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เนื้อดิน
                  เป็นพวกดินเหนียวตลอด  หน้าตัดดิน ดินชั้นบนสีเทาเข้มหรือสีเทา พบจุดประสีเหลือง หรือสีเหลืองปนแดง

                  ส่วนดินชั้นล่างสีเทาหรือสีเทาปนเขียวมะกอก
                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรงมากและเป็นดินเค็ม ในฤดูแล้ง
                  มีคราบเกลือลอยหน้า ปลูกพืชไม่ขึ้นจึงจัดเป็นดินมีปัญหา
                          กลุ่มชุดดินที่ 10

                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียว ดินลึกมาก พบบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล น้ าแช่
                  ขังลึก 100 เซนติเมตร นาน 6-7 เดือน สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายน้ าเลว
                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีด าหรือสีเทาแก่

                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0 ดินล่างมีเนื้อดินเป็น
                  ดินเหนียว มีสีเทามีจุดประสีน้ าตาลปนเหลือง สีแดง และพบจุดประสีน้ าตาลปนเหลืองฟางข้าวของสาร
                  จาโรไซด์ ภายในระดับความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก  มีค่าความเป็นกรด
                  เป็นด่าง น้อยกว่า 4.5
                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมากมัก

                  ขาดแร่ธาตุอาหารพืชพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในขณะเดียวกันจะมีสารละลายพวกอะลูมินั่มและ
                  เหล็กเป็นปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก ดินกลุ่มนี้จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดก ามะถัน









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35