Page 28 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 28
2-10
2.3 ทรัพยากรที่ดิน
ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่ส าคัญต่อการด ารงชีพของประชากรไทย เนื่องจาก
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินจึงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยในการผลิตอาหารของมนุษย์
จากกระบวนการก าเนิดของดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับ
อินทรียวัตถุ น้ าและอากาศจนกลายเป็นดิน ท าให้ดินแต่ละแห่งมีลักษณะต่างกันเนื่องจาก
การก าเนิดดิน ที่แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วัตถุต้นก าเนิด ระยะเวลาและส่วนผสม
จากข้อมูลของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เมื่อมีการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับดินในการเพาะปลูก ดินแต่ละแห่งจึง
มีความเหมาะสมแตกต่างกันไปในแต่ละพืชตามลักษณะของดิน
จากข้อมูลการส ารวจดินของกรมพัฒนาที่ดินที่ได้รวบรวมลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินที่มี
ศักยภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินมารวมกันอยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน สามารถจ าแนกออกได้ 62 กลุ่มชุดดิน โดย
มีลักษณะเด่นของแต่ละกลุ่มชุดดินแสดงในตารางที่ 2-6 รายละเอียดของกลุ่มชุดดินและปัญหาการใช้ที่ดิน
อธิบายตามรายละเอียดดังนี้
กลุ่มชุดดินที่ 1
กลุ่มชุดดินนี้ที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดิน
พวกตะกอนน้ าพัดพามาทับถม หน้าดินแตกระแหง สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการ
ระบายน้ าเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวจัดสีด าหรือ
สีเทาเข้ม มักพบจุดปะสีน้ าตาล และสีเหลืองปนน้ าตาลในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างสีเทาเข้ม และมักพบ
ก้อนปูนปะปนอยู่ในเนื้อดิน ในฤดูแล้งแตกระแหงเป็นร่องลึก เนื่องจากมีการยืดและหดตัวสูงเมื่อดินเปียก
และแห้ง
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การไถพรวนล าบาก เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัด
ต้องไถพรวนในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนน้ าได้ง่าย
เมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ เนื่องจากน้ าที่ขังอยู่จะซึมหายไปง่าย เมื่อดินเริ่มแห้งและแตกระแหงเป็นร่องลึก
กลุ่มชุดดินที่ 2
กลุ่มชุดดินนี้ที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดิน
พวกตะกอนล าน้ าพัดพาและตะกอนน้ าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ ากร่อย พบบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
และที่ราบลุ่มภาคกลาง สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือ
ดินเหนียวจัด หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้งและมีรอยไถลในดิน ดินบนมีสีเทาเข้ม ส่วนดิน
ชั้นล่างสีเทาและมีจุดประสีน้ าตาล สีเหลือง และสีแดง จะพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลือง
ฟางข้าวหรือสีเหลืองของจาโรไซต์ อยู่เหนือชั้นดินเลน ซึ่งเป็นตะกอนที่ถูกพัดพามาทับถมโดยน้ าทะเล
มีสีเทาปนเขียว
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ โครงสร้างของดินแน่นทึบ ดินเป็นกรดจัดมาก
และมีศักยภาพก่อให้เกิดความเป็นกรดของดินเพิ่มขึ้นในดินล่าง ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิต แต่ถ้ามีการจัดการ
ที่ดินอย่างดีแล้วจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
กลุ่มชุดดินที่ 3
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินลึก มีการระบายน้ าเลวที่เกิดจากวัตถุ
ต้นก าเนิดดินพวกตะกอนผสมระหว่างตะกอนล าน้ าและตะกอนน้ าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ ากร่อย ใน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน