Page 42 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 42

2-24





                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เป็นดินอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่ าเป็นกรดรุนแรงมาก

                  ขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ อย่างรุนแรงและยากต่อการใช้เครื่องมือทางการเกษตร เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต่ า
                  และดินยุบตัว หากมีการระบายน้ าออกเมื่อดินแห้งจะติดไฟได้ง่าย
                          กลุ่มชุดดินที่ 59

                        กลุ่มดินนี้พบบริเวณที่ราบลุ่มหรือบริเวณพื้นล่างของเนินหรือหุบเขาที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ
                  หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนล าน้ าพัดพามาทับถมกัน ดินที่พบ
                  ส่วนใหญ่มีการระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว มีลักษณะและสมบัติต่างๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน
                  ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดิน
                  ในบริเวณนั้นๆ ส่วนมากมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า

                          ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                  เสี่ยงต่อการขาดน้ า และบางปีอาจถูกน้ าท่วม การระบายน้ าเลวถึงค่อนข้างเลว
                          กลุ่มชุดดินที่ 60

                        กลุ่มดินนี้พบบริเวณสันดินริมน้ า บริเวณพื้นที่เนินตะกอนซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างเรียบ
                  จนถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนล าน้ าพัดพามาทับถมกัน
                  ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง เป็นดินลึกเนื้อดินเป็นพวกดินร่วน บางแห่งมีชั้นดิน
                  ที่มีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายหรือมีชั้นกรวด ซึ่งแสดงถึงการตกตะกอนต่างยุคของดินอันเป็นผลมาจาก

                  การเกิดน้ าท่วมใหญ่ในอดีต ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง
                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่
                  ที่มีความลาดชันสูงง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย และสูญเสียหน้าดิน
                          กลุ่มชุดดินที่ 61

                        กลุ่มดินนี้เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิด ซึ่งเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินต้นก าเนิด
                  ชนิดต่างๆ แล้วถูกพัดพามาทับทมบริเวณที่ลาดเชิงเขา มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน ดินที่พบ
                  ส่วนใหญ่มีการระบายน้ าดีถึงปานกลาง มีลักษณะและสมบัติต่างๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน
                  ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดิน

                  ในบริเวณนั้นๆ ส่วนใหญ่มักมีเศษหิน ก้อนหินและหินพื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป
                          เนื่องจากหน่วยแผนที่นี้ประกอบด้วยดินบริเวณเชิงเขาที่มีดินหลายอย่างเกิดปะปนกัน ดังนั้น
                  ในแผนที่ดินระดับจังหวัดจึงเรียกดินเหล่านี้ว่า ดินที่ลาดเชิงเขา

                          กลุ่มชุดดินที่ 62
                          กลุ่มดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา และเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ลักษณะ
                  และสมบัติของดินที่พบไม่แน่นอนมีทั้งดินลึก และดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์
                  ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก าเนิดในบริเวณนั้นมักมีเศษหิน ก้อนหินหรือพื้นโผล่
                  กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือ

                  ป่าดิบชื้น หลายแห่งมีการท าไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ า ซึ่งเป็นผล
                  ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินจนบางแห่งเหลือแต่หินโผล่ กลุ่มดินนี้ไม่ควรน ามาใช้ประโยชน์
                  ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ
                  เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ าล าธารต่อไป






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47