Page 41 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 41

2-23





                          ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เนื้อดินเหนียวจัด การไถพรวนต้องท าในช่วงที่ดิน

                  มีความชื้นพอเหมาะ มิฉะนั้นจะท าให้ดินแน่นทึบท าให้พืชชะงักการเจริญเติบโต บริเวณพื้นที่มีความลาดชันสูง
                  จะเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                          กลุ่มชุดดินที่ 55

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว ถูกเคลื่อนย้ายมา
                  ทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก าเนิดดินที่มาจากวัสดุเนื้อละเอียดที่มีปูนปน พบบริเวณพื้นที่ดอน
                  มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง
                  เนื้อดินเป็นดินเหนียว ในดินชั้นล่างที่ระดับความลึกประมาณ 50-100 เซนติเมตร พบชั้นหินผุซึ่งส่วนใหญ่
                  เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด บางแห่งมีก้อนปูนปะปนอยู่ด้วย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง

                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินมีโครงสร้างแน่นทึบยากต่อการชอนไชของ
                  รากพืช มักเกิดขั้นดานไถพรวนได้ง่าย หากไถพรวนในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม
                          กลุ่มชุดดินที่ 56

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว ถูก
                  เคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากพวกหินตะกอนหรือหินอัคนี พบ
                  บริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ าดี
                  เนื้อดินตอนบนช่วง 50 เซนติเมตร เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหิน มักพบ

                  ชั้นพบหินพื้นลึกกว่า 100 เซนติเมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
                          ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ า หากปลูกพืช
                  ในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง โดยไม่มีวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมอาจเกิดปัญหา
                  ด้านการชะล้างพังทลายของดิน
                          กลุ่มชุดดินที่ 57

                          เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ าหรือพื้นที่พรุที่มีน้ าแช่ขังอยู่เป็นเวลานาน
                  มีการระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นพวกดินอินทรีย์ที่สลายตัวปานกลางหนา 40-100 เซนติเมตร
                  บางแห่งเป็นชั้นอินทรียวัตถุสลับกับพวกดินอนินทรีย์ สีดินเป็นสีด าหรือสีน้ าตาลในชั้นดินอินทรีย์
                  ส่วนดินอนินทรีย์ที่เกิดเป็นชั้นสลับอยู่มีสีเป็นสีเทา ใต้ชั้นดินอินทรีย์ลงไปเป็นดินเลนตะกอนน้ าทะเลที่

                  มักจะพบระหว่างความลึก 50-100 เซนติเมตร มีสีเทาหรือสีเทาปนเขียว และมีสารประกอบก ามะถัน
                  (ไพไรต์) อยู่มาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เป็นดินอินทรีย์ เมื่อแห้งจะยุบตัวและปฏิกิริยาดิน
                  จะเป็นกรดรุนแรงมาก ท าให้ขาดธาตุอาหารพืชอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีน้ าแช่ขังอยู่

                  ตลอดเวลา
                          กลุ่มชุดดินที่ 58
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มชุดดินที่ 57 คือ พบบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ าหรือพื้นที่
                  พรุมีน้ าแช่ขังอยู่เป็นเวลานานหรือตลอดปี เป็นดินลึกการระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นพวก

                  ดินอินทรีย์ที่มีเนื้อหยาบที่มีความหนามากกว่า 100 เซนติเมตร มักมีเศษพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่
                  ปะปนอยู่ทั่วไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46