Page 270 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 270

3-176





                         -  ส้มโอเป็นไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานสามารถให้ผลผลิตได้จนถึงอายุ 25-30 ปี และเป็น

                  พืชที่มีการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หากต้นแม่พันธุ์เป็นต้นที่สมบูรณ์ยิ่งจะท าให้การขยายพันธุ์ได้

                  เป็นจ านวนมากและมีต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์
                         -  ผลของส้มโอสามารถน ามาแปรรูปเป็นทั้งอาหารและยา ได้แม้กระทั่งเปลือกก็สามารถ

                  น าไปแปรรูปได้

                    -       ส้มโอของไทยเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

                  มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รวมทั้งน ามาประยุกต์ในการท าอาหารคาวและหวานได้
                    -       ส้มโอมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีฤทธิ์เป็นยาในการรักษาโรค เช่น ใบเป็นยาแก้ปวดข้อ

                  ท้องอืดแน่น แก้ปวดหัว ดอกช่วยขับเสมหะ ขับลม ผลช่วยขับลมในล าไส้และกระเพาะอาหาร เปลือกผล

                  เป็นยาขับลมช่วยขับเสมหะ เป็นต้น

                    -       ส้มโอเป็นพืชที่สามารถเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตได้ยาวนาน มักไม่ได้รับความเสียหายจาก
                  การเก็บเกี่ยวและการขนส่งเนื่องจากโครงสร้างของเปลือกค่อนข้างหนา

                          - ส้มโอเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนเร็วประมาณ 3-4 ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลายปี

                  ในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อค านวณตลอดอายุโครงการ 25 ปี จะมีก าไรเฉลี่ย 64,847 บาทต่อปี  และจุดคุ้มทุนในปีที่ 4
                          -  ส้มโอเป็นไม้ผลที่สามารถเก็บได้ยาวนานกว่าผลไม้อื่น จึงมีศักยภาพในการส่งออก และ

                  ปัจจุบันตลาดมีความต้องการสูงขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ในปี 2559 มีการส่งออกส้มโอ/เกรปฟรุต

                  ในปริมาณ 19,426 ตัน มูลค่า 385 ล้านบาท ตลาดมีการขยายตัวตลอดเวลา

                        จุดอ่อน


                          - เกษตรกรขาดความรู้ด้านการจัดการระบบการผลิต เช่น ด้านการจัดการดินและปุ๋ ย โรคและแมลง
                  การจัดการน ้าที่เหมาะสม การปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

                           - เนื่องจากส้มโอเป็นไม้ผลที่มีแมลงศัตรูพืชมาก เกษตรกรจึงใช้สารเคมีหลายชนิด และ

                  มีการใช้ในปริมาณที่มาก ท าให้ต้นทุนการผลิตที่สูง และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

                    -       รูปแบบผลิตภัณฑ์จากส้มโอมีน้อยและไม่จูงใจ จึงท าให้โอกาสในการแปรรูปผลิตภัณฑ์
                  จากส้มโอของเกษตรกรลดลง ผลผลิตบางส่วนจ าเป็นต้องทิ้งไปโดยที่ไม่ได้น ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

                           - ปัญหาเรื่องปริมาณและคุณภาพของผลผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ไม่สามารถ

                  ควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                          -  ด้านราคาการจ าหน่าย ต้นทุนการผลิตส้มโอผกผันขึ้นลงตามราคาพลังงาน ราคาผลผลิต

                  ไม่แน่นอน เนื่องจากธรรมชาติเปลี่ยนแปลงฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล รวมถึงความต้องการของตลาด

                  ต่างประเทศ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275