Page 267 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 267

3-173





                  ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรมีความปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ

                  ประชาชนและสิ่งแวดล้อมของประเทศ การพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและการขยายโอกาสใน

                  การเข้าถึงพื้นที่ท ากินของเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเกษตรจากกิจการเจ้าของคนเดียว
                  เป็นการประกอบการในลักษณะสหกรณ์ ห้างหุ้นส่วน และบริษัท

                                การเพิ่มศักยภาพฐานการผลิตและบริการเดิมที่มีศักยภาพในปัจจุบันให้ต่อยอดไปสู่

                  ฐานการผลิตและบริการที่ใช้เทคโนโลยีที่เข้มข้นและมีนวัตกรรมมากขึ้น ควบคู่กับการวางรากฐาน

                  เพื่อสร้างและพัฒนาภาคการผลิตและบริการสาหรับอนาคต ทั้งในด้านการเตรียมศักยภาพคนและ
                  โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนสร้างกลไกและเครือข่ายความร่วมมือของธุรกิจในลักษณะคลัสเตอร์

                  (Cluster)

                            2)  นโยบายด้านผลไม้ของกระทรวงพาณิชย์

                                ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และเป็นผู้ส่งออกผลไม้รายใหญ่ของโลก แต่ยังขาด
                  เทคโนโลยี นวัตกรรมในการจัดการผลผลิต อีกทั้งเกษตรกรยังขาดความรู้ในการผลิตผลไม้ให้มีคุณภาพ

                  ตรงกับความต้องการของตลาด เพราะส่วนใหญ่เลือกปลูกผลไม้ตามกระแสของตลาด จากข้อมูล

                  ของส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าผลไม้เมืองร้อนในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคอื่นๆ
                  มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น อีกทั้งปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีราคาเป็นปัจจัยจูงใจเกษตรกร

                  ให้มีการจัดการดูแลจัดการแปลงเพาะปลูกอย่างดี อีกทั้งในช่วงปี 2559 และต้นปี 2560 ไม่มีผลกระทบ

                  จากสภาพภูมิอากาศมากนัก ผลผลิตจึงออกมาค่อนข้างสูง หากในอนาคตพื้นที่ปลูกผลไม้มากขึ้น
                  ผลผลิตอาจล้นตลาด กระทรวงพาณิชย์ จึงมอบหมายให้กรมการค้าภายในศึกษาจัดท ายุทธศาสตร์

                  ผลไม้เมืองร้อน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจาดการผลไม้อย่างเป็นระบบ ป้องกันราคาผลไม้ตกต ่า

                  ในระยะยาว ซึ่งยุทธศาสตร์นี้จะช่วยผลักดันให้ไทยเป็นมหาอ านาจด้านผลไม้ และเป็นศูนย์กลาง (ฮับ)
                  ผลไม้ของโลก หรือ ผลไม้เมืองร้อน

                            3)  นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                                กรอบการด าเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มียุทธศาสตร์ 20 ป ี เป็นแนวทาง

                  การด าเนินงาน โดยมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของประเทศไทย ที่จะน าเกษตรกรไทยก้าวพ้นจากกับดัก
                  ของผู้มีรายได้ปานกลาง  ส าหรับยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว เพื่อยกระดับคุณภาพ

                  ชีวิตของเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ สอดคล้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ได้วาง

                  แนวทางไว้  5  ด้าน ดังนี้

                                3.1)  สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยพัฒนาเกษตรกรให้
                  เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ( Smart Farmer) ในด้านต่างๆ โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง

                  2.5 ล้านคนภายใน 5 ป ี โดยไม่ทอดทิ้งชาวนารุ่นเก่า แต่จะสร้างให้เข้าใจระบบมากขึ้น ขณะนี้มีเครือข่าย





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272