Page 54 - longan
P. 54

3-16




                            4) หน่วยที่ดินที่มีความลาดชันสูง หน่วยที่ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมี

                  ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะและสมบัติของดินที่พบไม่แน่นอน มีทั้งดินลึกและดินตื้น
                  ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก าเนิดใน
                  บริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหินหรือพื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภท

                  ต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าดงดิบชื้น หลายแห่งมีการท าไร่เลื่อนลอยโดยปราศจาก
                  มาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ า ซึ่งเป็นผลท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินจนบางแห่งเหลือ
                  แต่หินโผล่ และยังพบการปลูกล าไยในหน่วยที่ดินนี้ ได้แก่ หน่วยที่ดิน 62
                            5) หน่วยเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย สนามบิน (AP) พื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ า (AQ)  หาดทราย
                  (BEACH) ดินตะกอนชะวากทะเลปะปนกัน (EC)  หน้าผาชัน (ES) พื้นที่ป่าไม้ (F) สนามกอล์ฟ (GC)

                  เกาะ (I)  พื้นที่เขตทหาร (MA)  พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ (MARSH)  ที่ดินดัดแปลง (ML)  บ่อขุด (P)  ท่าเรือ
                  (Pier)  ที่ดินหินพื้นโผล่ (RC)  ที่ดินเต็มไปด้วยก้อนหิน (RL)  นาเกลือ (SALT FARM)  สันดอนทราย
                  (SAND BAR)  พื้นที่ชุมชน (U)  และพื้นที่น้ า (W)

                        3.1.3 การจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (land suitability classification)

                            1) ชั้นความเหมาะสมของหน่วยที่ดินจ าแนกออกเป็น 4 ชั้น (class) คือ
                                S1 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (highly suitable)
                                S2 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (moderately suitable)
                                S3 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (marginally suitable)

                                N  หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (not suitable)
                              นอกจากนี้ในแต่ละชั้นความเหมาะสม ยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (subclass) ซึ่งเป็น
                  ข้อจ ากัดของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลรุนแรงที่สุดต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช
                            2) การประเมินความเหมาะสมของหน่วยที่ดิน โดยการจับคู่ระหว่างความต้องการ

                  ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินกับคุณภาพที่ดิน ซึ่งจะพิจารณาแต่ละคุณภาพที่ดินในหน่วยที่ดินนั้น ๆ
                  ที่มีข้อจ ากัดรุนแรงที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช จะใช้ระดับความเหมาะสม
                  ของคุณภาพที่ดินนั้นเป็นตัวแทนความเหมาะสมรวมของหน่วยที่ดิน

                            จากข้อมูลคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน จับคู่กับระดับความต้องการปัจจัยต่อการ
                  เจริญเติบโตของล าไย ดังตารางที่ 3-1 จากนั้นน ามาวิเคราะห์ตามระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แผนที่
                  ความเหมาะสมของที่ดินส าหรับล าไย ดังตารางที่ 3-2 และรูปที่ 3-1 ถึงรูปที่ 3-6























                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59