Page 55 - longan
P. 55

3-17




                  ตารางที่ 3-2  เนื้อที่ความเหมาะสมของที่ดินส าหรับล าไยเป็นรายภาค


                                       เหมาะสมสูง (S1)       เหมาะสมปานกลาง (S2)      เหมาะสมเล็กน้อย (S3)
                        ภาค
                                        ไร่      ร้อยละ         ไร่      ร้อยละ         ไร่      ร้อยละ
                  เหนือ              2,139,480    24.16    13,838,831     15.97      11,476,920    24.62
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ   1,853,932   20.93    43,712,442    50.42      22,845,991    49.00
                  กลาง               2,892,638    32.66       6,930,357    7.99        3,038,803    6.52
                  ตะวันออก             698,624     7.89    11,546,664     13.32        4,353,842    9.34

                  ใต้                1,271,945    14.36    10,665,225     12.30        4,904,696   10.52
                        รวม          8,856,619   100.00     86,693,519  100.00       46,620,252  100.00

                            -  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 8,856,619 ไร่ หรือร้อยละ

                  6.23 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ โดยภาคกลาง มีเนื้อที่ 2,892,638 ไร่ หรือร้อยละ 32.66
                  ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์
                  ตามล าดับ ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 2,139,480 ไร่ หรือร้อยละ 24.16 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
                  พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตามล าดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 1,853,932 ไร่ หรือร้อยละ 20.93 ส่วน

                  ใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น ตามล าดับ ภาคใต้ มีเนื้อที่ 1,271,945 ไร่ หรือร้อยละ
                  14.36 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง สุราษฎร์ธานี ตามล าดับ และภาคตะวันออก มีเนื้อที่
                  698,624 ไร่ หรือร้อยละ 7.89 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดจันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ตามล าดับ
                              คุณลักษณะที่ดิน พบว่า มีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน (ความลาดชัน

                  ร้อยละ 0-12) เป็นดินลึกมาก (มากกว่า 150 เซนติเมตร) มีปริมาณเกลือในดินไม่เค็ม (ค่าการน าไฟฟ้าของดิน
                  น้อยกว่า 2 เดซิซีเมนต่อเมตร) การระบายน้ าของดินดีปานกลางถึงน้ ามากเกินไป ความจุในการแลกเปลี่ยน
                  ประจุบวกค่อนข้างสูงถึงสูงมาก (มากกว่า 15 เซนติโมลต่อกิโลกรัม) และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง
                  ค่อนข้างต่ าถึงสูง (มากกว่า ร้อยละ 35)

                              ตัวอย่างชุดดิน ได้แก่ ชุดดินลพบุรี (Lb) ชุดดินตะพานหิน (Tph) ชุดดินก าแพงแสน (Ks)
                  ชุดดินวังไห (Wi) ชุดดินคง (Kng) ดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อน (AC) ชุดดินล าภูรา (Ll) ชุดดินวังสะพุง (Ws)
                  ชุดดินปราณบุรี (Pr) และชุดดินดงยางเอน (Don) เป็นต้น

                            -  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 86,693,519 ไร่
                  หรือร้อยละ 60.98 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่
                  43,712,442 ไร่ หรือร้อยละ 50.42 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางทั้งประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ใน
                  จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ตามล าดับ ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 13,838,831 ไร่ หรือร้อยละ
                  15.97 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ก าแพงเพชร นครสวรรค์ ตามล าดับ ภาคตะวันออก มีเนื้อที่

                  11,546,664 ไร่ หรือร้อยละ 13.32 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง สระแก้ว ตามล าดับ ภาคใต้
                  มีเนื้อที่ 10,665,225 ไร่ หรือร้อยละ 12.30 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช
                  ตามล าดับ และภาคกลาง มีเนื้อที่ 6,930,357 ไร่ หรือร้อยละ 7.99 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี

                  ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตามล าดับ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60