Page 23 - durian
P. 23
2-3
2.1.4 ภาคตะวันออก
ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี
ระยอง และสระแก้ว มีเนื้อที่ 21,487,812 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.70 ของเนื้อที่ประเทศ
ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขา แนวเทือกเขา ที่ราบแคบ ๆ และชายฝั่งทะเล ทางตอนเหนือ
ของภาคมีเทือกเขาสันก าแพงและเทือกเขาพนมดงรัก ทอดในแนวตะวันตกตะวันออก เป็นเส้นกั้นเขต
ระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดเป็น
เส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาที่จังหวัดตราด ถัดมามีเทือกเขาจันทบุรีอยู่ในแนว
จังหวัดชลบุรีและจันทบุรี ทะเลภาคตะวันออกประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่งเกาะที่
ส าคัญ ได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในจังหวัดตราด เกาะเสม็ด เกาะมันในในจังหวัดระยอง
เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี
2.1.5 ภาคใต้
ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี
พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 44,196,992 ไร่ หรือร้อยละ
13.78 ของเนื้อที่ประเทศ ทุกจังหวัดของภาคมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา
ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขาหรือที่ราบชายฝั่งทะเล
มีทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอ่าวไทยและฝั่งทะเลตะวันตกติดทะเลอันดามัน
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางน้อยกว่า 13 เมตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของ
ภาคสูงกว่าทางฝั่งตะวันออก มีเทือกเขาที่ส าคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรีอยู่ด้านฝั่งทะเลตะวันตก
ทอดในแนวเหนือใต้ขนานกับฝั่งทะเล กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์
เทือกเขาภูเก็ตทอดยาวต่อจากเทือกเขาตะนาวศรีเรื่อยไปจนถึงเกาะภูเก็ต ทางตอนกลางของภาค
มีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดในแนวเหนือใต้ ทางด้านใต้ของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นแนวกั้น
พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ฝั่งทะเลทั้งสองด้านนี้มีเกาะจ านวนมากโดยฝั่งทะเล
ด้านตะวันออกมีเกาะที่ส าคัญๆ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า เป็นต้น ส่วนทางฝั่งทะเลด้าน
ตะวันตก มีเกาะภูเก็ตซึ่งนับว่าส าคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ เกาะตะรุเตา เกาะลันตา และเกาะลิบง เป็นต้น
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ใกล้เส้นศูนย์สูตร ท าให้ภูมิอากาศของประเทศจัดอยู่ใน
ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical Rainy Climate) โดยอากาศทั้งประเทศจะคล้ายคลึงกัน โดยได้รับ
อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิดคือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (วิรัช มณีสาร,
2538) มีอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงเดือนเมษายนและอุณหภูมิต่ าสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
ส าหรับปริมาณน้ าฝน โดยทั่วไปประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์ดีพื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝน
1,200-1,600 มิลลิเมตรต่อปี