Page 25 - durian
P. 25

2-5





                  จะพาดผ่านภาคใต้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามล าดับ จนถึงช่วง

                  ประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะพาดผ่านบริเวณสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ ท าให้ฝนในประเทศ

                  ไทยลดลงระยะหนึ่ง เรียกช่วงนี้ว่า “ฝนทิ้งช่วง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจ
                  เกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมร่องความกดอากาศต่ าเลื่อนกลับลงมา

                  จากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนพาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้งท าให้มีฝนตกชุก

                  ต่อเนื่องและปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป

                              จนกระทั่งประมาณกลางเดือนตุลาคมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุม
                  ประเทศไทยแทนที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ท าให้ตอนบนของประเทศไทยจะเริ่มมีอากาศเย็นและ

                  ฝนลดลงโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยกเว้นภาคใต้ที่ยังคงมีฝนตกชุกต่อไปจนถึง

                  เดือนธันวาคมและมักมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่ง

                  จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกอย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนดได้
                  ประมาณ 1-2 สัปดาห์

                            3)  ฤดูหนาวเริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุม

                  ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน
                  1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็น

                  หรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไป ซึ่งจะหมดฝน

                  และเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                        2.2.3  ปริมาณน ้าฝน
                            ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาค (ช่วง 2530–2559) เป็นดังนี้ ภาคเหนือ

                  1,208.56 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,419.11 มิลลิเมตร ภาคกลาง 1,224.37 มิลลิเมตร

                  ภาคตะวันออก 1,837.07 มิลลิเมตร และภาคใต้ 2,224.49 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่
                  เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทย

                  ตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมี

                  พายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคม
                  หรือกันยายนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                  ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณอ าเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และ

                  ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะที่อ าเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณ

                  ฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,886.3 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่พื้นที่
                  ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดล าพูน ล าปาง และแพร่ พื้นที่ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  บริเวณจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมาและภาคกลาง ส าหรับภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30