Page 24 - durian
P. 24

2-4






                  2.2  สภาพภูมิอากาศ

                        2.2.1  ลมมรสุม
                            ประเทศไทยตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุม

                  ตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือรายละเอียดดังนี้

                            1)  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่าง
                  กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมโดยมีแหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้

                  บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตก

                  เฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรมรสุมนี้จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย

                  ท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลม
                  จะมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น

                            2)  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว

                  ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึง

                  กลางเดือนกุมภาพันธ์ลมมรสุมนี้มีแหล่งก าเนิดจากบริเวณหย่อมความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือแถบ
                  ประเทศมองโกเลียและสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งก าเนิด

                  เข้ามาปกคลุมประเทศไทยท าให้ท้องฟ้าโปร่งอากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะ

                  ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก
                  เนื่องจากมรสุมนี้น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมการเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิด

                  อาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี

                        2.2.2  ฤดูกาล
                            ประเทศไทยแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

                            1)  ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น

                  ช่วงเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือ

                  หันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะเดือนเมษายน บริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะ
                  ในเวลาเที่ยงวันท าให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปในฤดูนี้

                  แม้ว่าจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งแต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลง

                  มาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบนท าให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่

                  ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทยก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตก
                  ก่อให้เกิดความเสียหายได้พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักถูกเรียกว่า “พายุฤดูร้อน”

                            2)  ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม

                  ประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ าพาดผ่านประเทศไทยท าให้มีฝนตกชุกทั่วไปร่องความกดอากาศต่ า
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29