Page 18 - durian
P. 18
1-4
- ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทุเรียน โดยพิจารณาจากสถานภาพของ
ทรัพยากรต่าง ๆ และความเหมาะสมของที่ดินร่วมด้วย และจ าแนกเป็น 3 เขตการใช้ที่ดิน ได้แก่
เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก สัญลักษณ์ Z-I
เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมปานกลาง สัญลักษณ์ Z-II
เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมน้อย สัญลักษณ์ Z-III
4) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
(4.1) การวิเคราะห์เพื่อประเมินความเหมาะสมของพืชกับสภาพพื้นที่ประกอบกับข้อมูล
เชิงพื้นที่ของผลผลิตทุเรียนที่เกษตรกรเพาะปลูกในกลุ่มดินที่มีระดับความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เป็น
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สามารถคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพของพื้นที่และ
ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ในการนี้ได้ใช้ปัจจัยผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของการ
ผลิตทุเรียนในหน่วยที่ดินดินที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) และ
ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางด้านสถิติ
(4.2) การวิเคราะห์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ ได้น าวิธีการจากระบบ
ของ FAO Frame work (1983) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการทางสถิติ ท าการวิเคราะห์ข้อมูล การผลิต
ในปีการเพาะปลูก 2559 น ามาบันทึกลงในโปรแกรมส าเร็จรูปแล้วน ามาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาต้นทุน
ผันแปร ต้นทุนคงที่ รายได้ (มูลค่าผลผลิต) ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด ผลตอบแทนเหนือต้นทุน
ผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน มูลค่าปัจจุบันของรายได้ มูลค่าปัจจุบัน
ของผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี อัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดและระยะเวลาคืนทุนของการผลิต
ทุเรียนที่เกษตรกรท าการผลิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งผลตอบแทนจะสรุปออกมาในรูปของมูลค่าบาทต่อไร่
1.4.4 กำรก ำหนดเขตกำรปลูกพืชเศรษฐกิจทุเรียน
น าข้อมูลแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินของพืชเศรษฐกิจทุเรียน มาวิเคราะห์ร่วมกับ
ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนทัศนคติด้านการใช้ที่ดินของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับทุเรียน
เพื่อก าหนดพื้นที่เป้าหมายในการผลิตให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ และตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ปรากฏจริง
1.4.5 กำรจัดท ำรำยงำนและแผนที่
จัดท ารายงานเกี่ยวกับข้อมูลด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยเขียนบรรยายเชิง
พรรณนา มีตารางและรูปภาพประกอบ