Page 15 - durian
P. 15
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรส่งผลให้ภูมิอากาศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น
หรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็น
เขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะ
ร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้นภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และ
ตะวันออกเฉียงเหนือท าให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามล าดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับ
ปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความ
แตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นประเทศไทยจึงมีความ
เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลเขตร้อนเป็นอย่างยิ่ง
ทุเรียนจัดเป็นไม้ผลเขตร้อนที่สามารถเจริญเติบโตในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และมีผู้นิยมบริโภค
ค่อนข้างสูง ถึงกับมีการขนานนามว่า “ราชาแห่งผลไม้” ทุเรียนมีสายพันธุ์มากมาย เท่าที่รวบรวมได้มี
มากกว่า 600 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมในการบริโภคและมีมูลค่าในการส่งออกสูง ได้แก่ หมอนทอง
ชะนี ก้านยาว เป็นต้น ทุเรียนเป็นผลไม้มีรสชาติหวานมัน มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เนื้อสีเหลือง
นุ่ม มีกลิ่นที่มีความเอกลักษณ์ของตัวเองไม่เหมือนหรือใกล้เคียงผลไม้ชนิดอื่น
ภาคตะวันออกและภาคใต้เป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ส าคัญของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเริ่มมี
การปลูกกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคอื่น ๆ โดยแต่ละแหล่งปลูกพยายามสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง
ตามสภาพพื้นที่หรือแหล่งปลูก เช่น ทุเรียนภูเขาไฟ ทุเรียนทรายขาว จังหวัดปัตตานี ทุเรียนสาลิกา
จังหวัดพังงา ทุเรียนเกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นต้น ปัจจุบันพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2559
และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากข้อมูลกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน พบว่า
ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 1,100,000 ไร่ ทั้งนี้ลักษณะการปลูกมีทั้งลักษณะสวนเดี่ยวและ
สวนผสม การที่พื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากราคาและผลตอบแทนสุทธิเพิ่มสูงต่อเนื่อง ทางด้าน
การตลาดมีทั้งบริโภคภายในประเทศและส่งออก โดยประเภททุเรียนที่ไทยส่งออกทั้งหมด แบ่งเป็น
ผลสด ร้อยละ 95.8 แปรรูปแบบแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 3.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.3 โดยตลาดใหญ่ของ
ทุเรียนผลสดของไทย ร้อยละ 77 ส่งออกไปยังตลาดจีน