Page 66 - การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
P. 66

55







                       พบว่า ค่า NDVI มีความสัมพันธ์กับผลผลิตมะเขือเทศสูง และสามารถท าแผนที่แสดงความแปรปรวนของผลผลิต
                       ในแปลงปลูกได้
                                   Caturegli et al. (2016) ใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (UAVs) ที่ติด multispectral
                       sensor ศึกษาระดับไนโตรเจน (N) ในหญ้าสนาม พบว่า ค่า NDVI มีความสัมพันธ์กับปริมาณ N ใน
                                     2
                       ต้นหญ้าสูงมาก (r  = 0.95) ซึ่งค่าสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถน ามาใช้ก าหนดค่าความต้องการ N ของหญ้า
                       แต่ละชนิดได้
                                   Guan et al. (2019) ประเมินความสัมพันธ์ภาพ NDVI รายละเอียดสูงกับอัตราปุ๋ยและ
                       ผลผลิตข้าวและข้าวสาลี โดยการบันทึกข้อมูลรีโมทเซ็นซึ่งได้ใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (UAVs) ที่

                       ติดกล้องชนิด multispectral sensor ผลการศึกษาพบว่า  ค่า NDVI สามารถแสดงค่าความแตกต่างการ
                                                                                                         2
                       ได้รับปุ๋ยในอัตราที่ต่างกันของข้าวและข้าวสาลี และค่า NDVI มีความสัมพันธ์กับผลผลิตโดยมีค่า r  อยู่
                       ระหว่าง 0.601–0.809

                               Santillan and Santillan (2018) ศึกษาการเปรียบเทียบและการวิเคราะห์การสะท้อนแสงเชิง
                       คลื่นของสาคูและปาล์มชนิดอื่นๆ  ได้แก่ มะพร้าว และปาล์มน  ามัน เพื่อใช้จ าแนกชนิดของพืชแต่ละชนิด
                       ชุดข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยค่าลายเซ็นต์เชิงคลื่นเฉลี่ยของปาล์มแต่ละชนิดที่วัดได้ภายในช่วง

                       ความยาวคลื่น 345 - 1045 นาโนเมตร โดยใช้สเปกโตรมิเตอร์ไฟเบอร์ออปติกขนาดเล็กของ Ocean
                       Optics USB4000-VIS-NIR ข้อมูลการสะท้อนแสงในแหล่งก าเนิดนี ยังได้รับการสุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อให้ตรง
                       กับการตอบสนองกับช่วงคลี่นของดาวเทียม ALOS AVNIR-2  แถบช่วงคลื่ยที่ 4 ดาวเทียม ASTER VNIR
                       แถบช่วงคลื่ยที่ 3 ดาวเทียม Landsat 7 ETM+ แถบช่วงคลื่ยที่ 4 ดาวเทียม Landsat 8 แถบช่วงคลื่นที่ 5

                       และดาวเทียม Worldview-2 8 แบนด์ การตรวจสอบลายเซ็นต์เชิงคลื่นแสดงให้เห็นว่าบริเวณอินฟราเรด
                       ใกล้ โดยเฉพาะที่ 770, 800 และ 875 นาโนเมตร ให้ความยาวคลื่นที่ดีที่สุดที่สามารถแยกต้นสาคูออกจาก
                       ต้นปาล์มชนิดอื่นได้ การสุ่มตัวอย่างใหม่ของค่าการสะท้อนแสงในแหล่งก าเนิดเพื่อให้ตรงกับการตอบสนอง
                       ทางสเปกตรัมของเซ็นเซอร์ออปติคัลท าให้สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าการสะท้อนแสงของ สาคู

                       และปาล์มอื่นๆ ในแถบต่างๆ ของเซ็นเซอร์ได้ โดยรวมแล้วความรู้ที่ได้รับจากการวิเคราะห์จะมีประโยชน์ใน
                       การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเชิงคลื่น โดยเฉพาะในการพิจารณาว่าแถบใดที่จะรวมหรือไม่รวม หรือจะใช้
                       แถบทั งหมดของเซ็นเซอร์ในการแยกแยะและท าแผนที่ต้นสาคู
                               ขัตติยานี และคณะ (2561) ศึกษาค่าสะท้อนพลังงานของมันส าปะหลังจากข้อมูลดาวเทียม

                       LANDSAT-8 จ านวน 4 ช่วงคลื่น ได้แก่ ช่วงคลื่นสีน้าเงิน สีเขียว สีแดง และอินฟาเรดใกล้ ที่ผ่าน
                       กระบวนการปรับแก้เชิงเรขาคณิตแล้ว และเก็บข้อมูลระยะการเจริญเติบโตของมันสาปะหลัง 4 ช่วงระยะ
                       การเจริญเติบโต ประกอบด้วยระยะที่ 1 ระยะการเจริญเติบโตทางล าต้น ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาราก

                       สะสมอาหาร และลงหัว และระยะที่ 3 ระยะเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการสะท้อนช่วงคลื่น
                       ของมันส าปะหลังในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโตในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นมีการสะท้อนต่ าเนื่องจาก
                       คลอโรฟิลล์จะมีอิทธิพลต่อการดูดกลืนพลังงานมาก และในช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้พืชจะสะท้อนพลังงาน
                       สูงเนื่องจากคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในใบพืชสามารถตอบสนองพลังงานที่มาตกกระทบในช่วงคลื่นนี ได้ดี การจัด
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71