Page 71 - การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
P. 71

59







                                                              บทที่ 4
                                                      ผลการศึกษาและวิจารณ์


                       4.1 การสร้างฐานข้อมูลการส ารวจระยะไกลในรอบปีของพืชเศรษฐกิจจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
                                   การศึกษาครั งนี ได้รวบรวมภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ชนิด COPERNICUS/S2

                       บริเวณลุ่มน  าภาชีผ่าน https://code.earthengine.google.com/ เนื่องจากในการถ่ายภาพของ
                       Sentinel-2 จะใช้ดาวเทียม 2 ดวง ท าให้สามารถถ่ายภาพได้ทุก 5 – 7 วัน ของทุกเดือน ท าให้ในบาง

                       บริเวณอาจมีภาพที่ใช้ประโยชน์ได้ในแต่ละเดือน 1-3 ภาพ ดังนั นการรวบรวมข้อมูลภาพในครั งนี จึงใช้วิธี
                       โมเสกภาพ (mosaic) เพื่อให้ได้ภาพรายเดือนในบริเวณที่ศึกษามากที่สุด ซึ่งค่าที่ได้ในแต่ละจุดภาพจะเป็น

                       ค่าเฉลี่ยรายเดือนของจุดภาพในแต่ละภาพที่ซ้อนทับกัน การเก็บรวบรวมภาพเริ่มตั งแต่เดือนมกราคม
                       2561 ถึง เดือนธันวาคม 2565 และมีการค านวณค่าดัชนีพืชพรรณ 3 ชนิด ได้แก่ ดัชนี NDVI ดัชนี

                       GNDVI และดัชนี NDII เพื่อใช้ในการศึกษาค่าการสะท้อนแสง ลายเซ็นต์เชิงคลื่น และความสัมพันธ์กับการ
                       เจริญเติบโต โดยภาพที่ท าการจัดเตรียมนี จะต้องมีเมฆปกคลุมน้อยและสามารถใช้สกัดค่าในบริเวณแปลง
                       ศึกษาได้ ซึ่งจากการรวบรวมภาพถ่าย พบว่า ภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 มีข้อมูลภาพถ่ายที่สามารถ

                       น ามาใช้ประโยชน์ได้เพียงบางเดือน และในบางเดือนมีเมฆปกคลุมในบริเวณแปลงศึกษาท าให้ไม่
                       สามารถน าข้อมูลในแปลงที่มีเมฆปกคลุมมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ ทั งนี เกิดจากดาวเทียม Sentinel-2 เป็น

                       ดาวเทียมในระบบ passive sensor system คือเป็นดาวเทียมที่อาศัยแหล่งพลังงานจากภายคือดวง
                       อาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งในบางเดือนที่มีเมฆปกคลุมมากพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่สามารถส่งลงมาผ่าน
                       เมฆได้ หรือหากส่งลงมาได้เมื่อสะท้อนกลับอาจไปกระทบเมฆท าให้เซ็นเซอร์ของดาวเทียมไม่สามารถ

                       จัดเก็บข้อมูลในบริเวณนั นได้  ซึ่งเมฆและเงาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาในขณะที่ท างานการส ารวจ
                       ระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท างานในพื นที่เขตร้อน ท าให้จุดข้อมูลในภาพหายไป ซึ่งอาจเป็นปัจจัย

                       ข้อจ ากัดหลักต่อความสอดคล้องเชิงพื นที่และเชิงเวลาของการท าแผนที่และการติดตามการเปลี่ยนแปลง
                       การใช้ที่ดิน เนื่องจากข้อมูลในบริเวณที่มีเมฆและเงาปกคลุมนี  มีอิทธิพลต่อกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล

                       หลายอย่าง เช่น การแก้ไขบรรยากาศที่ไม่ถูกต้อง ดัชนีพืชพรรณผิดเพี ยนไป ท าให้เกิดความผิดพลาดใน
                       การจ าแนกประเภทสิ่งปกคลุมดิน และการตรวจพบการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินที่

                       ผิดพลาด ภาพโมเสคที่สร้างบนคลาวด์ เช่น google earth engine (GEE) จะถูกสร้างขึ นด้วยกฎพื น
                       ฐานความรู้ที่ก าหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งสร้างขึ นจากลายเซ็นสเปกตรัม โดยการรวมภาพ (composite) โดยใช้
                       ค่ามัธยฐานของการสะท้อนแสงของชุดข้อมูลภาพ ภาพโมเสกไร้รอยต่อและไร้เมฆซึ่งจะมีประโยชน์มากใน

                       บริเวณที่มักมีเมฆปกคลุม (Zhu et al., 2018) ซึ่งจาการรวบรวมภาพผ่านระบบคลาวด์ของที่มีการโมเสก
                       และรวมภาพ ซึ่งภาพตัวอย่างของภาพ Sentinel-2 ที่บันทึกภาพ ใน พ.ศ. 2564 (ภาพที่ 14)
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76