Page 22 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 22

16






                       เกี่ยวข้องกับ ซึ่งการประเมินความสมบูรณ์ของดินว่ามีปริมาณธาตุอาหารพืชมากน้อยแค่ไหนสามารถท าได้
                       หลายวิธี ได้แก่ การสังเกตลักษณะอาการที่พืชแสดงออก (Symptom of plant) การวิเคราะห์พืช (Plant
                       analysis) การทดสอบทางชีวภาพ  (Biological  test)  และการวิเคราะห์ดิน  (Soil  analysis) ซึ่งการน า
                       ผลวิเคราะห์ดินทุกอย่างมาใช้ในการคาดคะเนความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเป็นไปได้ยาก จึงมักเลือก

                       เฉพาะสมบัติทางเคมีที่ส าคัญ ๆ เท่านั้น  ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ปริมาณอินทรียวัตถุ
                       (Organic Matter: OM) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available Phosphorus: P) ปริมาณโพแทสเซียม
                       ที่เป็นประโยชน์ (Available  Potassium: K) ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capacity:
                       CEC) และปริมาณธาตุที่เป็นด่างที่ดินดูดยึดไว้ (Base Saturation:  BS) สมบัติทางเคมี เป็นคุณสมบัติของ

                       ดินซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจะตรวจสอบได้ด้วยความรู้สึกจากการเห็นด้วยตา และสัมผัสด้วยมือ แต่จะต้อง
                       อาศัยวิธีการวิเคราะห์ หรือกระบวนการทางเคมีเป็นเครื่องชี้บอก เช่น ค่าปฏิกิริยาดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ
                       และค่าการน าไฟฟ้าของดิน เป็นต้น (ลาวรรณ์ และคณะ, 2556; ประคัลภ์ และคณะ, 2557; กองวิจัยและ
                       พัฒนาการจัดการดิน, มปป.; ปิยพร และคณะ, มปป.)

                               3.1.1 ค่าปฏิกิริยาดิน เป็นการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดิน มีความส าคัญต่อการปลูก
                       พืชมากเพราะเป็นตัวควบคุมการละลายธาตุอาหารในดิน ออกมาอยู่ในสารละลายหรือน้ าในดิน ถ้าดินมีความ
                       เป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจจะละลายออกมาได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ

                       พืช หรือในทางตรงกันข้าม ธาตุอาหารบางชนิดอาจจะละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืชได้ ส าหรับ
                       พืชทั่วๆไปมักจะเจริญเติบโตในช่วงค่าเป็นกรดเป็นด่าง 6-7 ถ้าดินมีค่าเป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า 7 แสดงว่า
                       ดินนั้นเป็นดินกรด ยิ่งมีค่าน้อยกว่า 7 มาก ก็จะเป็นกรดมาก แต่ถ้าดินมีค่าเป็นกรดเป็นด่างมากกว่า 7 จะเป็น
                       ดินด่าง ส าหรับดินที่มีค่าเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 7 พอดีแสดงว่าดินเป็นกลาง แต่โดยปกติแล้วค่าความ
                       เป็นกรดเป็นด่างของดินทั่วไปจะอยู่ในช่วง 5 ถึง 8 (กองส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, มปป.) ค่าความเป็น

                       กรดเป็นด่างของดิน สามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรดเป็นด่างในภาคสนามโดยใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้
                       น้ ายาเปลี่ยนสีตรวจสอบ เรียกว่า pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ทั้งนี้ความเป็น
                       กรดเป็นด่างของดินมีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกอยู่ในดิน แต่จะขอ

                       กล่าวโดยสรุปเป็นสังเขปเท่านั้นความเป็นกรดของดินจะมีสภาพเหมือนกับกรดอย่างอ่อน เช่น
                                                                             +
                       กรดน้ าส้มสายชู ตัวที่แสดงความเป็นกรดคือ ไฮโดรเจนไอออน (H ) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการท าให้เกิด
                       การเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญทางเคมีของ ดิน กล่าวคือ ท าให้มีการละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา
                       บ้างก็เป็นประโยชน์ บ้างก็อาจเป็นพิษต่อพืช เช่น ถ้าดินเป็นกรดรุนแรง จะท าให้มีธาตุพวกอะลูมิเนียม

                       แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ า ในดินมากเกินไป จนเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชที่ปลูกได้ แมงกานีส
                       และเหล็ก แม้จะเป็นธาตุอาหารพืชที่ส าคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมาก
                       จนเกินไป ก็จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชได้ ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า ๔.๕ ลงไปเรามักพบปัญหา
                       ดังกล่าวข้างต้น ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดินที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้ได้ง่ายและมากน้อย

                       แค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพหรือระดับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เป็นอย่างมาก ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ใน
                       ดินจะคงสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีปริมาณมากที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่างช่วงหนึ่ง ถ้าดินมี
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27