Page 19 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 19

13






                       2.3 ข้อมูลทั่วไปอ าเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
                               2.3.1 ที่ตั้งและอาณาเขต อ าเภอปากพลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด ที่อยู่ที่ว่าการอ าเภอ
                       ปากพลี ตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 บ้านท่าแดง หมู่ที่ 3 ต าบลเกาะหวาย
                       อ าเภอปากพลี จังหวัดนครนายกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ (ส านักงานจังหวัด

                       นครนายก, มปป.)
                               ทิศเหนือ ติดต่อกับอ าเภอเมืองนครนายก อ าเภอปากช่อง (จังหวัดนครราชสีมา) และอ าเภอ
                       ประจันตคาม (จังหวัดปราจีนบุรี)
                               ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ าเภอประจันตคามและอ าเภอเมืองปราจีนบุรี (จังหวัดปราจีนบุรี)

                               ทิศใต้ ติดต่อกับอ าเภอเมืองปราจีนบุรี อ าเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี) และอ าเภอเมือง
                       นครนายก
                               ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ าเภอเมืองนครนายก
                               2.3.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ  ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชัน

                       ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี
                       นครราชสีมา และปราจีนบุรี  มีเทือกเขาติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัด
                       คือ ยอดเขาเขียว  มีความสูงจากระดับน้ าทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม

                       เชิงเขา เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยาที่เรียกว่า ที่ราบ
                       กรุงเทพ ( Bangkok Plain) ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การ ท านา ท าสวนผลไม้
                       และการอยู่อาศัย ซึ่งติดกับจังหวัดฉะเชิงเทราและปทุมธานี มีฝนตกชุกในฤดูฝนและมีน้ าท่วมขังทุกปี
                       พื้นที่มีปัญหาดินเปรี้ยว มีแหล่งน้ าธรรมชาติประกอบด้วยคลอง  หนอง บึงขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วไป
                       แต่ไม่สามารถน ามาใช้ในการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งได้ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก, มปป.;

                       องค์การบริหารส่วนต าบลปากพลี, มปป.)
                               2.3.3 ลักษณะภูมิอากาศ
                               สภาพอากาศของอ าเภอปากพลี อ้างอิงตามสภาพอากาศจังหวัดนครนายก อยู่ภายใต้

                       อิทธิพลของมรสุมที่พัดปกคลุมประเทศไทย 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมตั้งแต่
                       ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลมนี้พัดพาความ หนาวเย็นจากประเทศจีนเขามาสู่
                       ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ท าให้จังหวัดนครนายกประสบกับสภาวะอากาศ หนาวเย็นและแหงแล้ง
                       ส่วนมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดปกคลุมในช่วงฤดูฝนประมาณ กลางเดือน

                       พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่และเปนลมที่พัดผ่านทะเล
                       น าความชื้นและไอน้ าเขาสูจังหวัด ท าให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกโดยทั่วไป ซึ่งรายละเอียดสภาพ
                       ภูมิอากาศของอ าเภอปากพลีซึ่งอ้างอิงจากสถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครนครนายก
                       ระหว่าง พ.ศ.2533–พ.ศ.2562 (ตารางที่ 6)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24