Page 30 - Plan GI
P. 30

2-14





                        2.2.3  ภูมิอากาศจังหวัดบุรีรัมย
                            จากการรวบรวมขอมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดบุรีรัมย

                  ในรอบ 18 ป (ชวงป พ.ศ. 2546 - 2564) ดังตารางที่ 2-3 ประกอบดวยอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด
                  อุณหภูมิเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝน น้ำฝนใชการได ความชื้นสัมพัทธ ศักยภาพการคายระเหยน้ำ อธิบายไดดังนี้
                            1) อุณหภูมิ
                              จังหวัดบุรีรัมย มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดป 26.9 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดป
                  33.0 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน คือ 36.5 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิ
                  ต่ำสุดเฉลี่ยตลอดป 22.2 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม คือ 17.4 องศาเซลเซียส

                            2) ปริมาณน้ำฝน
                              จังหวัดบุรีรัมย มีปริมาณน้ำฝนรวม 1,328.1 มิลลิเมตร โดยในเดือนกันยายนมีปริมาณ
                  น้ำฝน มากที่สุด 250.7 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคมมีปริมาณน้ำฝนนอยที่สุด คือ 5.5 มิลลิเมตร
                            3) ปริมาณน้ำฝนใชการได (Effective Rainfall : ER)
                              ปริมาณน้ำฝนใชการได คือ ปริมาณน้ำฝนที่เหลืออยูในดิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช
                  ประโยชนไดภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวดวยน้ำแลวไหลบาออกมากักเก็บในพื้นดิน
                  จังหวัดบุรีรัมยมีปริมาณน้ำฝนใชการได 930.8 มิลลิเมตร ในเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนใชการไดมากที่สุด

                  150.1 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคมมีปริมาณน้ำฝนใชการไดนอยที่สุด คือ 5.5 มิลลิเมตร
                            4) ความชื้นสัมพัทธและศักยภาพการคายระเหยน้ำ
                              จังหวัดบุรีรัมย พบวามีความชื้นสัมพัทธเฉลี่ยตลอดป 74.5 เปอรเซ็นต ปริมาณการ
                  คายระเหยน้ำเฉลี่ยตลอดป 76.9 มิลลิเมตร ปริมาณการคายระเหยสูงสุด 90.3 มิลลิเมตรในเดือน
                  เมษายน มีปริมาณการคายระเหยต่ำสุด 67.2 มิลลิเมตร ในเดือนพฤศจิกายน
                            5) การวิเคราะหชวงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช GI

                              (1) สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมในการปลูกขาวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย เปนขาวที่
                  ไวตอชวงแสง สามารถปลูกไดปละครั้งในฤดูนาป โดยปจจัยสภาพแวดลอมที่ทำใหขาวหอมมะลิ
                  เกิดความเครียดเนื่องจากการขาดน้ำในระยะขาวสะสมแปงและอุณหภูมิต่ำในระยะสุกแก มีผลทำให
                  ปริมาณสารความหอม 2 - AP เพิ่มขึ้นได จะเห็นไดวาฤดูกาลที่เกษตรกรปลูกขาวเดือนสิงหาคม
                  เปนชวงที่ดินมีความชื้นในดินสูง ซึ่งตามหลักเกณฑการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO Framework
                  ในการปลูกขาวหอมมะลินั้น ไดกำหนดชั้นความเหมาะสมของปริมาณน้ำฝนที่พืชตองการใชน้ำใน
                  การเจริญเติบโตดังนี้ ชั้นความเหมาะสมสูงมีปริมาณน้ำฝน 700 - 800 มิลลิเมตร และชั้นความเหมาะสม
                  ปานกลางมีปริมาณน้ำฝน 550 - 700 มิลลิเมตร ชั้นความเหมาะสมเล็กนอยมีปริมาณน้ำฝน 400 - 550

                  มิลลิเมตร ทำใหขาวมีการเจริญเติบโตไดดีจนถึงระยะสุกแก พบวาอุณหภูมิก็มีผลตอการติดเมล็ดเชนกัน
                  คือ ชวงที่ขาวใกลสุกแกจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 22 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ชวงที่ขาวออกดอก
                  ในชวงที่รอนจัดบรรยากาศแหงแลงจะติดเมล็ดนอยมากเพราะความรอนทำใหไขที่ไดรับการผสมเกสรแลว
                  ไมเจริญเปนเมล็ด สำหรับการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO Framework ไดกำหนดชั้นความเหมาะสม
                  ของคุณภาพที่ดินในเรื่องอุณหภูมิดังนี้ ชั้นความเหมาะสมสูงมีอุณหภูมิ 22 - 30 องศาเซลเซียส
                  ชั้นความเหมาะสมปานกลางมีอุณหภูมิ 21 – 20 , 31 - 33 องศาเซลเซียส และชั้นความเหมาะสมเล็กนอย

                  มีอุณหภูมิ 19 – 18 , 34 - 35 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อพิจารณาภูมิอากาศจังหวัดบุรีรัมยชวงที่ขาวออกดอก
                  พบวา มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยูที่ 26.9 องศาเซลเซียส ซึ่งอยูในเกณฑชั้นความเหมาะสมสูงตอการปลูกขาว
                  หอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย






                  แผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย          กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35