Page 27 - Plan GI
P. 27

2-11






                        2.2.2 ภูมิอากาศจังหวัดนครพนม

                            จากการรวบรวมขอมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีตรวจวัดอากาศ
                  จังหวัดนครพนม ในรอบ 15 ป (ชวงป พ.ศ. 2549 - 2564) ดังตารางที่ 2-2 ประกอบดวยอุณหภูมิสูงสุด
                  อุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝน น้ำฝนใชการได ความชื้นสัมพัทธ ศักยภาพการคายระเหยน้ำ

                  อธิบายไดดังนี้
                            1) อุณหภูมิ
                              จังหวัดนครพนม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดป 26.0 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย
                  ตลอดป 31.8 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน คือ 35.1 องศาเซลเซียส และ

                  มีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดป 21.1 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม คือ
                  15.0 องศาเซลเซียส
                            2) ปริมาณน้ำฝน
                              จังหวัดนครพนม มีปริมาณน้ำฝนรวม 1,993.8 มิลลิเมตร โดยในเดือนกรกฎาคม

                  มีปริมาณน้ำฝน มากที่สุด 466.7 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคมมีปริมาณน้ำฝนนอยที่สุด คือ
                  4.7 มิลลิเมตร
                            3) ปริมาณน้ำฝนใชการได (Effective Rainfall : ER)
                              ปริมาณน้ำฝนใชการได คือ ปริมาณน้ำฝนที่เหลืออยูในดิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช

                  ประโยชนไดภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวดวยน้ำแลวไหลบาออกมากักเก็บในพื้นดิน
                  จังหวัดนครพนม มีปริมาณน้ำฝนใชการได 1,025.5 มิลลิเมตร ในเดือนกรกฎาคม  มีปริมาณน้ำฝนใชการ
                  ไดมากที่สุด 171.7 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนใชการไดนอยที่สุด คือ 4.7 มิลลิเมตร
                            4) ความชื้นสัมพัทธและศักยภาพการคายระเหยน้ำ

                              จังหวัดนครพนม พบวามีความชื้นสัมพัทธเฉลี่ยตลอดป 76.0 เปอรเซ็นต ปริมาณการ
                  คายระเหยน้ำเฉลี่ยตลอดป 100.0 มิลลิเมตร ปริมาณการคายระเหยสูงสุด 132.6 มิลลิเมตร ในเดือนเมษายน
                  ปริมาณการคายระเหยต่ำสุด 94.2 มิลลิเมตร ในเดือนธันวาคม
                            5) การวิเคราะหชวงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช GI

                                (1) สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมในการปลูกสับปะรดทาอุเทน
                                   สับปะรดทาอุเทน (Tha Uthen Pineapple) คือ สับปะรดพันธุปตตาเวีย
                  ปลูกในภูมิประเทศที่เหมาะสม ทั้งสภาพภูมิประเทศที่เปนลูกคลื่นลอนตื้น ดินรวนปนทรายแลวนั้น

                  ภูมิอากาศที่มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดป สงผลตอคุณภาพสับปะรด แมไมมีการรดน้ำเพิ่มเติมผลผลิตที่ได
                  ก็ยังหวานฉ่ำ ดังนั้นปริมาณฝนที่เหมาะสมในการปลูกสับปะรดทาอุเทนในชวงที่เกษตรกรเพาะปลูกนั้น
                  เริ่มตั้งแตปลายเดือนเมษายน เปนชวงที่เพาะปลูกสับปะรดซึ่งเปนชวงที่ดิน มีความชื้นในดินเหมาะสม
                  นอกจากนี้ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของสับปะรด ตั้งแต 700 - 2,500 มิลลิเมตร
                  โดยปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมสูง คือ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร เหมาะสมปานกลาง 1,500 - 2,000 และ

                  เหมาะสมเล็กนอย 2,000 - 2,500 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณน้ำฝนตั้งแตเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
                  เปนชวงที่มีฝนใชการไดเหมาะสมตามความตองการน้ำของสับปะรดทาอุเทน นอกจากนี้อุณภูมิมีผลตอ
                  ความหวาน สีผิวของการเก็บเกี่ยวสับปะรดเชนกัน หากมีอุณภูมิที่สูงเกินไปก็มีผลตอผิวและผลของสับปะรด

                  ซึ่งอุณภูมิที่เหมาะสมตามหลักเกณฑการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO Framework ในการปลูกสับปะรด





                  แผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย          กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32