Page 113 - Plan GI
P. 113

3-65






                  3.3   การประเมินคุณภาพที่ดินดานกายภาพ

                        บัณฑิต และคณะ (2542) ไดกลาววา การประเมินคุณภาพที่ดินเปนการพิจารณาศักยภาพของ
                  หนวยทรัพยากรที่ดินตอการใชประโยชนที่ดินประเภทตาง ๆ ในระดับการจัดการที่แตกตางกัน วิธีการ

                  ประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี ซึ่งวิธีที่กรมพัฒนาที่ดินไดเริ่มนำเอาวิธีการประเมินคุณภาพที่ดินของ
                  FAO Framework ค.ศ. 1983 มาใช เนื่องจากวิธีการนี้สามารถใชไดกับทุกระดับมาตราสวนของ
                  การสำรวจ และตอบวัตถุประสงคไดทุกระดับของการสำรวจในการประเมินคุณภาพที่ดินของพืชบงชี้
                  ทางภูมิศาสตร ไดพิจารณาในดานกายภาพ ดังนี้

                        3.3.1 คุณภาพที่ดิน คือ คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช

                  คุณภาพที่ดินอาจประกอบดวยคุณลักษณะที่ดิน (Land characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได เชน
                  ความเปนประโยชนของออกซิเจนตอรากพืช (Oxygen availability to roots) เปนคุณภาพที่ดินซึ่งมีผล
                  มาจากคุณลักษณะของที่ดินหลายตัว เชน ชั้นการระบายน้ำของดิน (Soil drainage class) ความลึกของ
                  ระดับน้ำใตดิน (depth water table) ระยะเวลาของน้ำทวมขัง (period of waterlogging) เปนตน

                            จะเห็นไดวาคุณภาพที่ดินนั้นในแตละสิ่งแวดลอม คุณลักษณะที่ดินที่มีอิทธิพลตอการ
                  เจริญเติบโตของพืช ความรุนแรงอาจไมเทากันหรือคนละตัว การประเมินคุณภาพที่ดินจึงจำเปนตอง
                  “ชั่งน้ำหนัก” วาสถานการณใดควรจะใชคุณลักษณะที่ดินเปนตัวนำ ซึ่งจะกลาวในรายละเอียดตอไปนี้
                            คุณภาพที่ดินที่นำมาประเมินสำหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework

                  ไดกำหนดไวทั้งหมด 25 ชนิด สำหรับประเทศไทยอาจนำมาใชเพียงไมกี่ชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยูกับความพรอม
                  ของขอมูล ความแตกตางของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลตอผลผลิต
                  ตลอดจนชนิดของพืช และความตองการใชประโยชนที่ดิน (Land-Use Requirements)
                            เมื่อทำการจัดลำดับความสำคัญแลวพบวา เงื่อนไขหลักขึ้นอยูกับการรวบรวมขอมูล

                  คุณลักษณะที่ดิน ดังนั้นเมื่อนำมาใชในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของพืชตาง ๆ จึงมีปจจัยหลัก
                  11 ปจจัย ที่นำมาวิเคราะห ดังนี้
                                1) อุณหภูมิ (Temperature regime) : t

                                2) ความชุมชื้นที่เปนประโยชนตอพืช (Moisture availability) : m
                                3) ความเปนประโยชนของออกซิเจนตอรากพืช (Oxygen availability to root) : o
                                4) ความเปนประโยชนของธาตุอาหาร (Nutrient availability) : s
                                5) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity) : n
                                6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions) : r

                                7) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts) : x
                                8) สารพิษ (Soil toxicities) : z
                                9) สภาวะการเขตกรรม (Soil workability) : k

                                10) ศักยภาพการใชเครื่องจักร (Potential for mechanization) : w
                                11) ความเสียหายจากการกัดกรอน (Erosion hazard) : e









                  โครงการแผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย      กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118