Page 299 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 299

บทที่ 4

                                                 สรุปและข้อเสนอแนะ



                  4.1  สรุป
                        โครงการศึกษาและจัดท าฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทยนี้ ได้มี
                  การจัดท าฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทยให้มีความถูกต้องและเป็น

                  ปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้นักวิชาการที่เกี่ยวข้องใช้ในการด าเนินโครงการแผนการใช้ที่ดินระดับต าบล
                  และงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการพัฒนาและส่งเสริมพืช GI ให้เหมาะสมกับ
                  สภาพพื้นที่ทางด้านกายภาพ เป็นการคุ้มครองทรัพยากรดินที่เหมาะสมส าหรับพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ

                  ส่งเสริมการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีสภาพเหมาะสมต่อพืชดังกล่าว เพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิตพืช GI ให้
                  คงที่ ได้มาตรฐานการผลิต อันจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการได้รับปริมาณ
                  ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน กลุ่มวางแผนบริหาร
                  จัดการพื้นที่ชุ่มน้ า กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ได้จัดท าฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                  (GI) ของประเทศไทย ประกอบด้วย

                        4.1.1  ผลวิเคราะห์ขอบเขตสภาพการใช้ที่ดินพืช GI ตามประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา (2564)
                        4.1.2  ข้อมูลผลวิเคราะห์สถิติภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกพืช GI รายจังหวัด และรายภาค ในรูป Excel
                  และกราฟสมดุลน้ าเพื่อการเกษตร

                        4.1.3  ลักษณะภูมิประเทศในขอบเขตพื้นที่การผลิตพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่อยู่ในประกาศของ
                  กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยแสดงในรูป Hillshade พร้อมวิเคราะห์ความลาดชันในพื้นที่ประกาศเขต พืช
                  GI ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
                        4.1.4  ผลการวิเคราะห์ทรัพยากรดิน โดยแสดงชุดดินที่พบในขอบเขตพื้นที่การผลิตพืชบ่งชี้ทาง

                  ภูมิศาสตร์ (GI) ที่อยู่ในประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
                        4.1.5  ผลการวิเคราะห์ทรัพยากรน้ า แหล่งน้ าผิวดิน และ แหล่งน้ าใต้ดิน เพื่อการเกษตรตามชนิด
                  พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แต่ละชนิด
                  ทั้งนี้ ได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรม

                  ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อผลิตและปรับปรุงฐานข้อมูลพืช GI ในอนาคต เพื่อประโยชน์ในการท างานวิจัยให้
                  เกิดประโยชน์อย่างบูรณาการทุกภาคส่วน และสนับสนุนข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียนเพื่อขอตรารับรองการ
                  ผลิตพืช GI เพื่อประโยชน์ ดังนี้ (พงษ์พิลัย, 2547 ; กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2564)
                             1) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากหากผู้บริโภคหลงผิดในสินค้า จะไม่ได้รับสินค้าตาม

                  มาตรฐานที่ต้องการจากฉลากหรือชื่อที่ใช้ อาจส่งผลต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนด้วย
                             2) เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันผู้ประกอบธุรกิจน า
                  ชื่อเสียงของคู่แข่งขันไปแอบอ้างโดยทุจริตและอ้างแหล่งผลิตโดยมิชอบ เพื่อหาประโยชน์จากชื่อเสียงของ

                  ชุมชนอื่นๆ ที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน
                             3) เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้ผู้ผลิตและเป็นเครื่องมือทางการตลาด เนื่องจากสิ่งบ่งชี้ทาง
                  ภูมิศาสตร์สามารถเป็นสื่อให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ผลิตขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือท้องถิ่นใด
                  ท้องถิ่นหนึ่ง การระบุชื่อประเทศหรือท้องถิ่นจะต้อง ท าให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นมีลักษณะพิเศษต่างไป
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304