Page 298 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 298

3-4





                           เมื่อนายทะเบียนได้รับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่า

                  การขึ้นทะเบียนได้ด าเนินการไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือโดยอ าพรางหรือมีรายการผิดจากความเป็น
                  จริง ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอให้นายทะเบียนส่งเรื่องให้คณะกรรมการมีค าวินิจฉัยให้
                  แก้ไขหรือเพิกถอนทะเบียนได้ ในกรณีที่ปรากฏว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการขึ้นทะเบียน

                  และท าให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีลักษณะต้องห้ามหรือท าให้รายการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ลงไว้ใน
                  ทะเบียน ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอให้นายทะเบียนส่งเรื่องให้คณะกรรมการมีค า
                  วินิจฉัยแก้ไขหรือเพิกถอนทะเบียนได้และถ้าไม่เห็นด้วยกับค าวินิจฉัยของคณะกรรมการผู้มีส่วนได้เสียก็มี
                  สิทธิน าคดีไปสู่ศาลได้
                           เมื่อมีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส าหรับสินค้าใดแล้ว ผู้ผลิตสินค้าซึ่งอยู่ในแหล่ง

                  ภูมิศาสตร์ของสินค้าดังกล่าวหรือผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับสินค้านั้นมีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้น
                  ทะเบียนกับสินค้าที่ระบุไว้ ตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนก าหนด หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ก าหนดให้นาย
                  ทะเบียนแจ้งให้บุคคลนั้นปฏิบัติตามเงื่อนไข หากยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่มีเหตุอันสมควร นาย

                  ทะเบียนอาจมีค าสั่งเป็นหนังสือระงับการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่เกินสองปีนับ
                  แต่ได้รับแจ้งค าสั่ง และผู้ถูกระงับการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีสิทธิอุทธรณ์ค าสั่งของนายทะเบียนต่อ
                  คณะกรรมการได้ และหากยังไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิน าคดีไปสู่ศาลได้
                           ได้มีการก าหนดว่าการกระท าดังต่อไปนี้เป็นการกระท าโดยมิชอบซึ่งจะมีบทลงโทษเอาไว้ ได้แก่

                             ๑) การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อแสดงหรือท าให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าที่มิได้มาจาก
                  แหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุไว้เป็นสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว
                             ๒) การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ท าให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของ
                  สินค้าและในคุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะอื่นของสินค้านั้น เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่

                  ผู้ประกอบการรายนั้น
                           รัฐมนตรีอาจก าหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าเฉพาะอย่าง และการ
                  ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับสินค้าที่มิได้มีแหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุไว้ในค าขอขึ้นทะเบียนเป็นการกระท าโดย
                  มิชอบ แม้ว่าผู้ใช้จะได้ระบุแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้านั้นไว้ด้วยหรือกระท าการใดที่แสดงให้

                  ทราบถึงแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้านั้นก็ตาม ในกรณีที่สินค้าเฉพาะอย่างที่ก าหนดใน
                  กฎกระทรวงมีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เหมือนกันหรือพ้องกันแต่เป็นสินค้าที่มีแหล่งภูมิศาสตร์ต่างกัน เมื่อมี
                  การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส าหรับสินค้าดังกล่าวให้การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นไปตาม

                  หลักเกณฑ์และวิธีการที่ก าหนดไว้ในกฎกระทรวง
                           พระราชบัญญัตินี้ก าหนดให้มีคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจาก
                  หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการและมีทั้งกรรมการ
                  ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการโดยต าแหน่ง โดยมีอ านาจหน้าที่ที่ส าคัญ คือ ให้ค าแนะน าหรือค าปรึกษาแก่
                  รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ และพิจารณาสั่งให้แก้ไข

                  หรือเพิกถอนทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ จึงได้มีการก าหนด
                  บทลงโทษทางอาญาแก่บุคคลผู้กระท าการฝ่าฝืนบทบัญญัติต่างๆ ตามที่ได้ก าหนดไว้ และก าหนดให้
                  อธิบดีมีอ านาจเปรียบเทียบปรับได้ (พงษ์พิลัย, 2547)
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303