Page 300 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 300

4-2





                  จากสินค้าจ าพวกเดียวกันที่ผลิตขึ้นจากแหล่งอื่น ซึ่งจะส่งผลให้สินค้านั้นมีราคาสูงขึ้นหรือจ าหน่ายได้มาก

                  ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ผลิตแต่ละรายอีกด้วย
                             4) เพื่อให้มีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้า เนื่องจากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเหมือน
                  เครื่องหมายรับรองคุณภาพ และแหล่งที่มาของสินค้า เนื่องจากเงื่อนไขหนึ่งของการขอรับความคุ้มครองใน

                  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่และตัวสินค้า ทั้งในแง่คุณภาพ
                  ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะพิเศษ ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพเฉพาะของสินค้าจากแหล่งนั้น กลุ่มผู้ผลิตจึงต้องมีส่วน
                  อย่างมากในการช่วยกันรักษาคุณภาพหรือชื่อเสียงนั้นๆ ไว้
                             5) เพื่อช่วยกระจายรายได้สู่ชนบท สินค้าที่ขอขึ้นทะเบียนโดยมากเป็นสินค้าเกษตร เพื่อ
                  ปัจจัยด้านสภาพดินฟ้าอากาศหรือสภาพพื้นที่จะส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพของสินค้า การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้

                  ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นโดยตรง และเป็นการน าเอาชื่อเสียงที่มีมา
                  นาน มาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า
                             6) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งประโยชน์ทางอ้อมของ

                  การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มชนในท้องถิ่นที่ต้อง
                  ร่วมกันพัฒนาคุณภาพสินค้าของตน สร้างความผูกพันและความภาคภูมิใจในถิ่นก าเนิด อันเป็นการสร้าง
                  คุณค่าให้กับท้องถิ่นซึ่งจะช่วยลดปัญหาแรงงานชนบทอพยพเข้าสู่เมืองอีกด้วย
                  4.2  ข้อเสนอแนะ

                        ข้อเสนอแนะส าหรับส าหรับการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร GI มี 2 แนวทาง คือ
                        4.2.1 ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าเกษตร GI กับเกษตรกร โดยขยายพื้นที่การปลูกพืช GI ที่มี
                  กระแสตอบรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นถิ่นที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์และภูมิ

                  ปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร
                        4.2.2 ส่งเสริมการตลาด โดยสร้างโอกาส/จัดพื้นที่ เพิ่มช่องทางการขายสินค้า GI ในโมเดิร์นเทรด
                  และศูนย์การค้าชั้นน า เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจ าหน่ายสินค้าของเกษตรกร
                  4.3  แนวทางการพัฒนาการผลิตพืช GI ในอนาคต

                        แนวทางการวางแผนการใช้ที่ดินตามศักยภาพของดินที่ปลูกพืช GI เพื่อขยายพื้นที่การปลูกพืช GI
                  ที่มีกระแสตอบรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นถิ่นที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์และ

                  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร และ 2. ส่งเสริม
                  การตลาด โดยสร้างโอกาส/จัดพื้นที่ เพิ่มช่องทางการขายสินค้า GI ในโมเดิร์นเทรด และศูนย์การค้าชั้น
                  น า เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจ าหน่ายสินค้าของเกษตรกร
                        GI เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงแหล่งผลิตเฉพาะเจาะจงในพื้นที่การเพาะปลูก จึงเปรียบเสมือนเป็น

                  แบรนด์ประจ าท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า การขึ้นทะเบียนสินค้า GI ถือเป็น
                  การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้ ท าให้เกิด
                  ความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภค นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของ
                  จังหวัด โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับชุมชน สร้างรายได้และความสามัคคีให้เกิดขึ้น ท าให้คนในชุมชน

                  ไม่ต้องเดินทางออกไปท างานต่างถิ่น รวมถึงพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรในการเยี่ยมชม
                  การผลิตสินค้า GI ช่วยสร้างโอกาส สร้างจุดแข็งให้แบรนด์ในชุมชน
   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305