Page 13 - รายงานการศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
P. 13

บทที่ 1

                                                         บทนำ



                  1.1  หลักการและเหตุผล
                             มนุษยเปนทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศ เปาหมายของการพัฒนาประเทศ คือ
                  การสงเสริมใหประชาชนมีชีวิตที่ดี และมีความเปนอยูที่มีสุขไมวาจะเปนดานเศรษฐกิจและสังคม

                  เทคโนโลยี การสงเสริมสุขภาพที่ปราศจากโรคภัย มีสภาพจิตใจที่ดี สิ่งเหลานี้เปนประเด็นที่มุงยกระดับ
                  คุณภาพชีวิต ซึ่งการทำใหประชาชนมีความเปนอยูและคุณภาพชีวิตที่ดีเปนหนาที่สำคัญของภาครัฐ
                  ในการสงเสริมใหประชาชนมีความสามารถและศักยภาพ ขจัดความยากจนมีความเปนอยูที่ดีขึ้น

                  อนึ่งภาคการเกษตรไทยเปนภาคการผลิตที่สำคัญที่ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และสงออก
                  ไปตางประเทศ ดวยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องและมีการแยกครอบครัว ทำใหขนาดเนื้อที่
                  ถือครองทางการเกษตรตอครัวเรือนลดลง อีกทั้งการเกษตรแบบดั้งเดิมโดยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสงผลให
                  เกษตรกรมีรายไดไมเพียงพอกับรายจาย เกิดการเคลื่อนยายแรงงานภาคการเกษตรสงผลใหประสิทธิภาพ
                  ในการผลิตลดลง กระทรวงเกษตรและสหกรณไดจัดทำโครงการ 1 ตําบล 1 กลุมเกษตรทฤษฎีใหม

                  โดยนอมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหมมาเปนแนวทางในการดำเนินงาน
                  เพื่อชวยเหลือเกษตรกรดานเศรษฐกิจและสังคม บรรเทาปญหาการวางงาน ลดปญหาการเคลื่อนยาย
                  แรงงานในภาคการเกษตร สรางอาชีพ เพิ่มรายได มุงสูระบบเกษตรกรรมมั่นคง ยั่งยืน สรางความ

                  เขมแข็งใหกับครัวเรือนและชุมชนในทองถิ่น โดยการพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรรูปแบบใหมเพื่อเพิ่ม
                  ประสิทธิภาพการผลิต ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดินไดดำเนินงานดานการจัดการการใชน้ำในพื้นที่แปลงเกษตร
                  จัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมใหเกษตรกรสามารถปลูกพืชและมีรายไดตลอดทั้งป ซึ่งขอมูลทางดาน
                  เศรษฐกิจและสังคมจะสะทอนคุณภาพชีวิตดานรายได และความพึงพอใจของเกษตรกรและผูที่เกี่ยวของ

                  เพื่อใชประกอบในการตัดสินใจวางแผนการผลิต ดังนั้น กลุมเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตรจึงจำเปนตอง
                  ทำการศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เขารวมโครงการ เพื่อใชเปนขอมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนงาน
                  และโครงการตอไป


                  1.2  วัตถุประสงค

                             1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เขารวมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุมเกษตรทฤษฎีใหม
                             2) เพื่อวิเคราะหรายไดกอนและหลังเขารวมโครงการ

                  1.3  ระยะเวลาดำเนินงาน

                             งบประมาณป 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18