Page 16 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 16
3.2) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ สามารถ
จัดประเภทข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
ดังนี้
(1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสัมภาษณ์
เกษตรกร โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires)
(2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำการเก็บรวบรวม
จากเอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย รายงาน บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว
มาอ้างอิงประกอบการศึกษา
4) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม วิเคราะห์ผลตอบแทนตามประเภท
การใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตามกลุ่มชุดดิน สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
4.1) การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการผลิตตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในแต่ละ
กลุ่มชุดดิน โดยวิเคราะห์ในระดับต่าง ๆ เช่น ผลตอบแทนขั้นต้นหรือผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
ผลตอบแทนสุทธิหรือผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด อัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน เป็นต้น
4.2) การประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตามกลุ่มชุดดิน ซึ่งแบ่งการประเมิน 2 รูปแบบ คือ พืชเศรษฐกิจที่มีอายุการผลิตไม่เกิน 1 ปี และพืชเศรษฐกิจ
ที่มีอายุการผลิตมากกว่า 1 ปี (ไม้ผลไม้ยืนต้น) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) สามารถประเมินได้ดังนี้
(1) สำหรับพืชเศรษฐกิจที่มีอายุการผลิตไม่เกิน 1 ปี
(1.1) การเลือกตัวแปรที่นำมาใช้เป็นตัวชี้วัดในการประเมินคุณภาพที่ดิน
ด้านเศรษฐกิจ เพื่อจัดระดับความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ เลือกชนิดตัวแปรทางเศรษฐกิจที่นำมาใช้
วิเคราะห์ 4 ตัวแปร ได้แก่ รายได้หรือมูลค่าผลผลิต ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนจากการผลิต และ
อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน
(1.2) การกำหนดค่าวิกฤตที่นำมาใช้กำหนดจุดวิกฤต (Critical Point) และ
แบ่งช่วงของข้อมูลตัวแปรจากค่าพิสัย (Interval Range) เพื่อแบ่งระดับความเหมาะสมของตัวแปรต่าง ๆ
ซึ่งแต่ละตัวแปรมีค่าวิกฤตที่ต่างกัน
(1.3) วิธีการประเมินคุณภาพที่ดิน ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลตัวแปรที่ใช้เป็น
ตัวชี้วัดในการจัดระดับความเหมาะสมตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยคำนวณให้เป็นค่าเฉลี่ยต่อไร่
ทุกตัวแปร ยกเว้นอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน ดังนี้
(1.3.1) รายได้หรือมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คำนวณจากผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
คูณด้วยราคาขายเฉลี่ย (ใช้ราคาเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อกำจัดปัญหาตัวแปรด้านราคาที่แตกต่างกันตามสถานที่
และระยะเวลาการผลิต) มีสูตรการคำนวณดังนี้
รายได้ (Income: I) = ผลผลิต x ราคา
(1.3.2) ต้นทุนการผลิตต่อไร่ คือ ต้นทุนการผลิตที่นำมาประเมินเป็น
ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อไร่ (เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด) มีสูตรการคำนวณดังนี้
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost: VC) = ต้นทุนผันแปรที่เป็น
เงินสด + ต้นทุนผันแปร
ที่ไม่เป็นเงินสด
ี่
รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท 9