Page 12 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 12
เท่ากับ 1.69 เมื่อนำมาเปรียบเทียบ พบว่า ข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรังในกลุ่มชุดดินที่ 4 มีความคุ้มค่า
ในการลงทุนมากกว่าในกลุ่มชุดดินที่ 5 และกลุ่มชุดดินที่ 21
2.3) มันสำปะหลัง กลุ่มชุดดินที่ 18 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 1,402.35 บาท
และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.22 และกลุ่มชุดดินที่ 35 มีผลตอบแทนเหนือ
ต้นทุนทั้งหมด 3,835.17 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.57 เมื่อนำมา
เปรียบเทียบ พบว่า มันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 35 มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าในกลุ่มชุดดินที่ 18
2.4) อ้อยโรงงาน กลุ่มชุดดินที่ 18 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 3,407.02 บาท และ
อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.48 และกลุ่มชุดดินที่ 35 มีผลตอบแทนเหนือ
ต้นทุนทั้งหมด 1,150.09 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.14 เมื่อนำมา
เปรียบเทียบ พบว่า อ้อยโรงงานในกลุ่มชุดดินที่ 18 มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าในกลุ่มชุดดินที่ 35
2.5) ส้มโอ กลุ่มชุดดินที่ 4 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 13,946.25 บาท และ
อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.89 กลุ่มชุดดินที่ 21 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุน
ทั้งหมด 8,516.04 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) 1.59 และกลุ่มชุดดินที่ 35
มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 15,440.26 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio)
เท่ากับ 2.33 เมื่อนำมาเปรียบเทียบ พบว่า ส้มโอในกลุ่มชุดดินที่ 35 มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า
ในกลุ่มชุดดินที่ 4 และกลุ่มชุดดินที่ 21
3) การประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
3.1) ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ได้แก่ ข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรังในกลุ่มชุดดินที่ 4 5
และกลุ่มชุดดินที่ 21 และส้มโอในกลุ่มชุดดินที่ 35
3.2) ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ได้แก่ ส้มโอในกลุ่มชุดดินที่ 4 และกลุ่มชุดดินที่ 21
้
ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และออยโรงงานในกลุ่มชุดดินที่ 18 ข้าวนาปี และมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 35
3.3) ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ได้แก่ อ้อยโรงงานในกลุ่มชุดดินที่ 35
2. ข้อเสนอแนะ
1) ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงาน: เจ้าหน้าที่สามารถนำข้อมูลการประเมินความเหมาะสม
ในเชิงเศรษฐกิจไปใช้ประโยชน์ เพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินให้แก่เกษตรกร
ส่งเสริมความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยการฝึกอบรมพร้อมถอดความรู้ทางด้านการเกษตรผสานกับภูมิปัญญา
หรือประสบการณ์ของเกษตรกรที่มีอยู่ เพื่อนำมาปรับใช้และส่งต่อความรู้ไปยังเกษตรกรรุ่นใหม่ สำหรับปัญหา
ภัยแล้ง ควรสำรวจความต้องการและจัดหาหรือจัดสร้างแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ในส่วนแนวคิด
ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยการเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมี และฮอร์โมน ควรให้ความรู้ในเรื่องการทำ
ี
ปุ๋ยอินทรีย์และสารอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมและสารเคมีที่มีราคาแพง ส่งเสริมให้มีการเก็บตัวอย่างดิน รวมทั้ง
ส่งเสริมให้มีการจดบันทึกข้อมูลการผลิตตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว
เพื่อประโยชน์สำหรับเกษตรกรในการนำข้อมูลมาปรับปรุงวิธีการจัดการเพอให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคณภาพ
ื่
ุ
2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: ส่งเสริมให้ทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพิ่มขึ้น ลดพื้นที่เกษตรเคมี
โดยให้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการใช้สารเคมี พร้อมยกระดับการทำเกษตรแบบเดิมเป็นการ
ทำเกษตรแบบปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพทดแทน เพื่อลดต้นทุนเพิ่มมูลค่า
ผลผลิต มีตลาดรองรับแน่นอน และพัฒนาระบบการขายโดยเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคและ
ผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว
ี่
รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท 5