Page 11 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 11

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร



                           รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นที่ จังหวัด
                  ชัยนาท ปีงบประมาณ 2567 มีวัตถุประสงค์เพอ (1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจในระดับ
                                                       ื่
                  พื้นที่ และ (2) วิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  ตามกลุ่มชุดดิน เพื่อสนับสนุนงานวางแผนการใช้ที่ดินในระดับพื้นที่ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลจาก
                  เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปี-ข้าวนาปรัง

                  มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และส้มโอ และตามกลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 4  5  18  21 และกลุ่มชุดดินที่ 35
                  ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 218 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ผลตอบแทนและประเมิน
                  ความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจ สามารถสรุปผลได้ดังนี้

                           1. สรุปผล
                             1) ข้อมูลทั่วไป เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 60 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 57.25
                  มีลักษณะพื้นที่ทำการเกษตรโดยมีขนาดแปลงไม่เกิน 5 ไร่ ร้อยละ 44.93 การถือครองที่ดินเป็นที่ดินของตนเอง
                  7.17 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 73.32 โดยมีหนังสือสำคัญในที่ดินเป็นโฉนด 6.99 ไร่ต่อครัวเรือน

                  หรือร้อยละ 97.47 มีเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มหรือเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตรร้อยละ 60.87
                  โดยเกษตรกรร้อยละ 23.91 กู้ยืมเงินในรอบปีที่ผ่านมาเป็นจำนวนเงินกู้เฉลี่ย 301,515.15 บาทต่อครัวเรือน
                  ส่วนใหญ่กู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 70.27 ปัญหาในการผลิตแต่ละ
                  ชนิดพืชจะมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปัจจัยการผลิต

                  มีราคาสูง ศัตรูพืชรบกวน โรคพืชรบกวน เป็นต้น สำหรับความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ ส่วนใหญ่
                  ต้องการให้จัดสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร จัดหาปัจจัยการผลิตคุณภาพดี และราคาต่ำกว่าท้องตลาด ส่งเสริม
                  และแนะนำการทำปุ๋ย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชใช้เอง ในส่วนของทัศนคติในการผลิต เกษตรกร
                  ร้อยละ 93.48 ไม่คิดเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าสภาพพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์

                  ของดินเหมาะสมกับพืชที่ปลูก ส่วนแนวคิดในการเพิ่มผลผลิต พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมี
                  ร้อยละ 51.47 และเกษตรกรร้อยละ 98.55 ไม่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนอาชีพไปสู่นอกภาคเกษตร โดยให้
                  เหตุผลว่าเป็นอาชีพหลักของครอบครัว และเกษตรกรร้อยละ 77.54 ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมของ
                  กรมพัฒนาที่ดิน แต่มีเกษตรกรร้อยละ 22.46 เคยใช้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมที่เคยใช้ ได้แก่ พด. 1 พด. 2

                  เมล็ดพันธุ์ปอเทือง และโดโลไมท  ์
                             2) ภาวะการผลิตตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (เฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่)
                                2.1) ข้าวนาปี กลุ่มชุดดินที่ 18 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 1,541.80 บาท และ
                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.31 และกลุ่มชุดดินที่ 35 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุน

                  ทั้งหมด 757.96 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.18 เมื่อนำมาเปรียบเทียบ
                  พบว่า ข้าวนาปีในกลุ่มชุดดินที่ 18 มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าในกลุ่มชุดดินที่ 35
                                2.2) ข้าวนาปี–ข้าวนาปรัง กลุ่มชุดดินที่ 4 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 6,602.92 บาท

                  และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.73 กลุ่มชุดดินที่ 5 มีผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                  ทั้งหมด 6,313.47 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.69 และกลุ่มชุดดินที่ 21
                  มีผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 6,477.68 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio)





                                                                             ี่
                  รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท   4
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16