Page 15 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 15

1.4.2 กรอบแนวคิดในการศึกษาโครงการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจ สำหรับพืชเศรษฐกิจ
                  ที่สำคัญในระดับพื้นที่ ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปเป็น
                  กรอบแนวคิดในการศึกษาได้ดังนี้



                          ตัวแปรต้น                     การวิเคราะห์                     ตัวแปรตาม

                    ข้อมูลการผลิตทางการเกษตร   ประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจ    ระดับความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ

                    ตามประเภทการใช้ที่ดิน     สำหรับพืชที่มีอายุการผลิตไม่เกิน 1 ปี   ตามประเภทการใช้ที่ดิน
                    - ปริมาณผลผลิต            - รายได้ (I)                      - ระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                    - ราคาผลผลิต              - ต้นทุนผันแปร (VC)               - ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                    - รายได้หรือมูลค่าผลผลิต   - ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร (RVC)   - ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)

                    - ต้นทุนการผลิต           - อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนผันแปร (R)   - ไม่เหมาะสม (N)

                    - ผลตอบแทนการผลิต         สำหรับพืชที่มีอายุการผลิตมากกว่า 1 ปี
                                              - มูลค่าปัจจุบันของรายได้ PV(I  )
                                              - มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนผันแปร PV(VC)

                                              - มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV)

                                              - อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน (BC)

                                              - ระยะเวลาคืนทุนหรือจุดคุ้มทุน (P)


                                                     ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการศึกษา

                           1.4.3 วิธีการดำเนินงาน
                                1) ขอบเขตด้านเนื้อหา

                                   1.1) ศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร จากข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร เช่น
                  เพศ อายุ ระดับการศึกษา ภาวะหนี้สิ้น เป็นต้น
                                                                           ิ
                                   1.2) วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และทัศนคตของเกษตรกร
                                   1.3) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

                                   1.4) ประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกลุ่มชุดดิน
                                2) ขอบเขตด้านประชากร
                                   ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นที่

                  จังหวัดชัยนาท ตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปี-ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง
                  อ้อยโรงงาน และส้มโอ และตามกลุ่มชุดดิน 5 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 4  5  18  21 และกลุ่มชุดดินที่ 35
                  ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลสามารถจัดเก็บไม่น้อยกว่า 4-8 ตัวอย่างต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินและต่อกลุ่มชุดดิน
                  ทั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 218 ตัวอย่าง (ภาคผนวก ก)
                                3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

                                   3.1) ศึกษาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของโครงการและจัดทำเครื่องมือ โดยการศึกษา
                  ข้อมูลเบื้องต้น และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืช
                  เศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นที่ ข้อมูลพื้นที่จังหวัดชัยนาท แผนที่ แผนการดำเนินงาน รวมทั้งออกแบบ

                  เครื่องมือ เป็นต้น

                                                                             ี่
                  รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท   8
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20