Page 19 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 19
(2) สำหรับพืชเศรษฐกิจที่มีอายุการผลิตมากกว่า 1 ปี (ไม้ผลไม้ยืนต้น)
(2.1) การวิเคราะห์สำหรับการผลิตพืชไม้ผลไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตหลายปี
ตั้งแต่ปีที่เริ่มให้ผลผลิตจนถึงปีที่ให้ผลผลิตลดน้อยลง การวิเคราะห์ตัวแปรทุกตัวแปรจะต้องมีข้อมูลที่จะ
นำมาวิเคราะห์ตั้งแต่ปีที่ 1 เป็นต้นไป โดยแบ่งช่วงอายุของไม้ผลไม้ยืนต้นแต่ละชนิดตามปีที่เริ่มให้ผลผลิต
การเก็บข้อมูลตัวอย่างจากเกษตรกรในพื้นที่จะต้องได้ข้อมูลการผลิตครบทุกช่วงอายุ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูล
ในช่วงอายุใด จะต้องใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการบันทึกหรือศึกษาวิจัยจากหน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด
ื่
กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สถาบันวิจัยพืชสวน ธนาคารเพอ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
(2.2) นำข้อมูลตัวแปร 4 ตัวแปรมาวิเคราะห์เช่นเดียวกับพืชที่มีการผลิตไม่เกิน
1 ปี แต่ต้องคำนวณค่าชุดตัวแปรการผลิตเป็นค่าปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการ
ตามหลักมูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value: NPV) ของรายได้ ต้นทุน ผลตอบแทน อัตราส่วนรายได้ต่อ
ต้นทุน และระยะเวลาการคืนทุน (Payback Period) เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการจัดระดับความเหมาะสมของ
ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งชุดข้อมูลที่ใช้ในการจัดระดับความเหมาะสม มีวิธีการคำนวณดังนี้
(2.2.1) มูลค่าปัจจุบันของรายได้หรือมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คำนวณ
ตั้งแต่ปีที่ให้ผลผลิตตลอดอายุการเก็บผลผลิต โดยใช้อัตราคิดลด (discount rate) ตามประกาศอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ ธ.ก.ส. ณ ช่วงเวลาที่จัดเก็บข้อมูล มีสูตรการคำนวณดังนี้
มูลค่าปัจจุบันของรายได้ PV(I)
1
2
= + (1+ ) + (1+ ) 2 + ⋯ … + (1+ )
0
หรือ = ∑
=0 (1+ )
(2.2.2) มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คำนวณตั้งแต่เริ่ม
การผลิต (ปลูก) ในปีที่ 1 จนตลอดอายุการผลิต โดยใช้อัตราคิดลด (discount rate) ตามประกาศอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ ธ.ก.ส. ณ ช่วงเวลาที่จัดเก็บข้อมูล มีสูตรการคำนวณดังนี้
มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน PV(VC)
1 2
= + + + ⋯ … +
(1+ ) (1+ ) 2 (1+ )
หรือ = ∑
=0 (1+ )
(2.2.3) มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิจากการผลิตเฉลี่ยต่อไร่
คำนวณตั้งแต่ปีแรกที่ปลูกจนตลอดอายุการผลิต โดยใช้อัตราคิดลด (discount rate) ตามประกาศอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ ธ.ก.ส. ณ ช่วงเวลาที่จัดเก็บข้อมูล มีสูตรการคำนวณดังนี้
มูลค่าปัจจุบันของผลได้สุทธิ (NPV)
) ( − ) ( − )
( −
= ( − ) + (1+ ) + (1+ ) 2 + ⋯ … + (1+ )
0
0
หรือ = ∑ ∑
=0 (1+ ) =0 (1+ )
( − )
หรือ = ∑
=0 (1+ )
ี่
รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท 12