Page 20 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 20

โดยที่
                                                       Bt   =  รายได้หรือมูลค่าผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการจนถึง

                                                               ปีที่ t
                                                       Ct  =  มูลค่าของต้นทุนผันแปรที่เกิดขึ้นจากการจัดหา
                                                               ปัจจัยต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินการจนถึงปีที่ t
                                                        r  =  อัตราคิดลด (discount rate) ตามประกาศอัตรา

                                                               ดอกเบี้ยเงินกู้ ธ.ก.ส. ณ ช่วงเวลาที่จัดเก็บข้อมูล
                                                        T  =  อายุของโครงการซึ่งในที่นี้เท่ากับอายุการผลิต
                                                               ของพืชแต่ละชนิด
                                                        t  =  ปีที่ผลิต

                                                     1     =  discount factor
                                                  (1 + r) t
                                              จากการคำนวณมูลค่าปัจจุบันนั้นเป็นมูลค่าปัจจุบันของรายได้ ต้นทุน
                  และผลตอบแทน รวมทุกปีตลอดอายุของไม้ผลไม้ยืนต้น แต่เนื่องจากอายุของการผลิตพืชแต่ละชนิด
                  ไม่เท่ากัน และเพื่อให้สามารถนำรายได้ ต้นทุน และผลตอบแทนของพืชไม้ผลไม้ยืนต้นหลายชนิด

                  มาเปรียบเทียบกันได้ต้องทำให้เป็นค่าเฉลี่ยต่อปี เพราะวิธีการนี้ได้คำนึงถึงการปรับค่าของเวลา และ
                  การเลือกค่าเสียโอกาสของเงินทุนที่เหมาะสมไว้แล้ว โดยคำนวณได้จากการนำเอามูลค่าปัจจุบันของรายได้
                  ต้นทุน และผลตอบแทนสุทธิ คูณด้วยตัวกอบกู้ Capital Recovery Factor (CRF) ที่อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ
                  อัตราคิดลดที่ใช้ในการคำนวณค่า NPV และในระยะเวลาเท่ากับอายุ (จำนวนปีที่ผลิต) ของพืชแต่ละชนิด
                  มีสูตรการคำนวณดังนี้

                                              รายได้เฉลี่ยต่อปี     =  PV(B) x CRF
                                              ต้นทุนเฉลี่ยต่อปี     =  PV(C) x CRF
                                              โดยที่ค่า Capital Recovery Factor (CRF) คือ ตัวปรับค่าต้นทุนและ

                  รายได้ให้เป็นค่าเฉลี่ยต่อปี เพื่อให้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับพืชที่มีอายุการผลิตไม่เกิน 1 ปี
                                              (2.2.4) อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน (B/C Ratio) ซึ่งคำนวณได้จากการ
                  นำเอามูลค่าปัจจุบันของรายได้หารด้วยมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนการผลิต มีสูตรการคำนวณดังนี้
                                                                   
                                                          ∑         
                                                              =0 (1+  )   
                                                      =       
                                                                      
                                                          ∑           
                                                              =0 (1+  )
                                              (2.2.5) ระยะเวลาการคืนทุนหรือจุดคุ้มทุน (Payback Period)
                  หลักเกณฑ์นี้เป็นการนับจำนวนปีที่จะได้รับผลตอบแทนคุ้มกับการลงทุน ซึ่งหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เริ่ม
                  การผลิต (ปลูก) จนกระทั่งได้รับผลตอบแทนสุทธิจากการผลิตรวมกันตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงปีที่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
                  ในส่วนของการลงทุนหรือเท่ากับปีที่เริ่มได้รับกำไรจากการลงทุน (ค่าผลตอบแทนสุทธิเป็นบวก) โดยเป็น

                  ตัวชี้วัดว่า ถ้ามีระยะเวลาการคืนทุนที่เร็วกว่าย่อมดีกว่า
                                          (2.3) การกำหนดระดับค่าตัวแปรในการจัดระดับความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
                  สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในแต่ละหน่วยที่ดินนั้น เมื่อดำเนินการจัดเตรียมคาตัวแปรที่จะ
                                                                                               ่
                  นำมาใช้เป็นตัวชี้วัดในการจัดระดับความเหมาะสมแล้ว ก็จะนำมากำหนดระดับของค่าตัวแปรต่าง ๆ
                  โดยดำเนินการดังนี้

                                                                             ี่
                  รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท   13
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25