Page 25 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 25
ตารางที่ 3 (ต่อ)
รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ
ลักษณะการถือครองที่ดิน
ของตนเอง 7.17 73.32
เช่า 2.61 26.68
หนังสือสำคัญในที่ดินของตนเอง
โฉนด 6.99 97.47
ส.ป.ก.4-01 0.18 2.53
ที่มา: จากการสำรวจ
2.3 ภาวะหนี้สินและการกู้ยืมเงินของเกษตรกร
การเข้าร่วมกลุ่มหรือเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร มีเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มหรือเป็นสมาชิก
สถาบันการเกษตรร้อยละ 60.87 และไม่เข้าร่วมกลุ่มหรือเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตรร้อยละ 39.13
โดยเข้าร่วมกลุ่มหรือเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
มากที่สุดร้อยละ 91.67 รองลงมาเป็นสหกรณ์การเกษตรร้อยละ 33.33 กลุ่มกองทุนหมู่บ้านร้อยละ 17.86
และกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มวิสาหกิจพันธุ์พืช กลุ่มนาแปลงใหญ่ กลุ่มส้มโอแปลงใหญ่) ร้อยละ 9.52
ในรอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนเกษตรมีภาวะหนี้สินและกู้ยืมเงินร้อยละ 23.91 ของครัวเรือนเกษตร
ทั้งหมด โดยมีจำนวนเงินกู้เฉลี่ย 301,515.15 บาทต่อครัวเรือน เป็นเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินทั้งหมด
แหล่งเงินกู้ที่ครัวเรือนเกษตรกู้ยืมเงินส่วนใหญ่เป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ร้อยละ 70.27 ของจำนวนเงินกู้ทั้งหมด รองลงมาเป็นกองทุนหมู่บ้านร้อยละ 16.22 สหกรณ์การเกษตร
ร้อยละ 13.51 วัตถุประสงค์การกู้ยืมเงินเพอใช้นอกการเกษตรร้อยละ 80.49 และใช้ในการเกษตรร้อยละ 19.51
ื่
มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 5.46 บาทต่อปี ระยะเวลาในการกู้ยืมเงินส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงิน
ระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) ร้อยละ 40.54 ของแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินทั้งหมด ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)
ร้อยละ 37.84 และระยะปานกลาง (2-5 ปี) ร้อยละ 21.62 นอกจากนี้ยังมีครัวเรือนเกษตรที่ไม่มีหนี้สิน
ร้อยละ 76.09 ส่วนปัญหาในการชำระหนี้ ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 96.97 ไม่มีปัญหาในการชำระหนี้ และมี
ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 3.03 มีปัญหาในการชำระหนี้ เนื่องจากราคาผลผลิตตกต่ำ จึงทำให้มีรายได้
ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ (ตารางที่ 4)
ี่
รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท 18