Page 45 - Phetchaburi-Prachuap Khirikhan Basin
P. 45

3-11





                  3.4 สภาพภูมิอากาศ

                        จังหวัดเพชรบุรี อยูภายใตอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำเปนฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันตก

                  เฉียงใต ซึ่งเปนลมจากทิศตะวันตกเฉียงใตพัดผานมหาสมุทรอินเดียจึงพาเอาไอน้ำ และความชุมชื้นมา
                  สูประเทศไทยระหวางกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมทำใหมีฝนตกชุกทั่วไป ลมมรสุม
                  อีกชนิดหนึ่งคือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเปนลมเย็น
                  และแหงจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทยระหวางกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ

                  ทำใหจังหวัดนี้มีอากาศเย็นลง และมีฝนชุกตอเนื่องอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม พิจารณาตาม
                  ลักษณะลมฟาอากาศของประเทศไทย แบงฤดูกาลของจังหวัดเพชรบุรีออกไดเปน 3 ฤดู ดังนี้
                        ฤดูรอน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเปนชวงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้
                  เปนชวงวางของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ

                  ในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อยางไรก็ตามจังหวัดเพชรบุรีอยูใกลทะเลจึงไมรอนมากนัก
                  เพราะไดรับกระแสลมและไอน้ำทำใหอากาศคลายความรอนลงไปมาก
                        ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเปนชวงที่ลมมรสุมตะวันตก
                  เฉียงใตพัดปกคลุมประเทศไทยและยังมีรองความกดอากาศต่ำพาดผานภาคใตเปนระยะ ๆ ในชวงเดือนตุลาคม

                  ตอจากนั้นในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเปนระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย
                  จังหวัดเพชรบุรีจะยังคงมีฝนตอเนื่อง จนถึงเดือนธันวาคมคมฝนจึงเริ่มลดลงอยางชัดเจน
                        ฤดูหนาว เริ่มตั้งแตกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ ซึ่งเปนฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

                  พัดปกคลุมประเทศไทย ทำใหอุณหภูมิลดลงทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็นเปนครั้งคราว โดยอุณหภูมิ
                  จะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม
                        จากการรวบรวมขอมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดเพชรบุรี
                  ในรอบ 29 ป (ชวงป พ.ศ. 2535 - 2564) ดังตารางที่ 3-4 ประกอบดวยอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด
                  อุณหภูมิเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝน น้ำฝนใชการได จำนวนวันฝนตก ความชื้นสัมพัทธ ศักยภาพการคายระเหยน้ำ

                  อธิบายไดดังนี้
                          1) อุณหภูมิ
                            จังหวัดเพชรบุรี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดป 28.2 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดป

                  32.3องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิสูงสุดในเดือนพฤษภาคม คือ 33.9 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิ
                  ต่ำสุดเฉลี่ยตลอดป 24.6 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมคือ 21.7 องศาเซลเซียส
                          2) ปริมาณน้ำฝน
                            จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำฝนรวม 990.6 มิลลิเมตร โดยในเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝน

                  มากที่สุด 288.5 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ มีปริมาณน้ำฝนนอยที่สุด คือ 5.4 มิลลิเมตร
                          3) ปริมาณน้ำฝนใชการได (Effective Rainfall : ER)
                            ปริมาณน้ำฝนใชการได คือ ปริมาณน้ำฝนที่เหลืออยูในดิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใชประโยชน
                  ไดภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวดวยน้ำแลวไหลบาออกมากักเก็บในพื้นดิน

                  จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำฝนใชการได 752.2 มิลลิเมตร ในเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนใชการไดมากที่สุด
                  153.8 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ ปริมาณน้ำฝนใชการไดนอยที่สุด คือ 5.4 มิลลิเมตร






                  แผนการใชที่ดินลุมน้ำหลักแมน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50