Page 48 - Phetchaburi-Prachuap Khirikhan Basin
P. 48

3-14





                        จังหวัดประจวบคีรีขันธ อยูภายใตอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำเปนฤดูกาล 2 ชนิด คือ

                  มรสุมตะวันตกเฉียง ใตซึ่งเปนลมที่พัดเอาไอน้ำและความชุมชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเขาปกคลุม
                  ประเทศไทยในชวงฤดูฝน ทำใหมีฝน ตกชุกทั่วไป และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพามวลอากาศเย็น
                  และแหงจากประเทศจีนเขาปกคลุมประเทศไทย ตั้งแตประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณ

                  กลางเดือนกุมภาพันธ ซึ่งอยูในชวงฤดูหนาวของประเทศไทย ทำให บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ
                  มีอากาศเย็น แตจะยังคงมีฝนตอเนื่องอีกระยะหนึ่งจนถึงเดือนธันวาคม พิจารณาตามลักษณะลมฟา
                  อากาศของประเทศไทย แบงฤดูกาลของจังหวัดประจวบคีรีขันธออกไดเปน 3 ฤดู ดังนี้
                        ฤดูรอน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเปนชวงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้

                  เปนชวงวางของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ
                  ในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อยางไรก็ตามจังหวัดประจวบคีรีขันธอยูใกลทะเลจึงไมรอนมากนัก

                  เพราะไดรับกระแสลมและไอน้ำทำใหอากาศคลายความรอนลงไปมาก
                        ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเปนชวงที่ลมมรสุมตะวันตก

                  เฉียงใตพัดปกคลุมประเทศไทยและยังมีรองความกดอากาศต่ำพาดผานภาคใตเปนระยะๆ ในชวงเดือนตุลาคม
                  ตอจากนั้นในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเปนระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย
                  จังหวัดประจวบคีรีขันธจะยังคงมีฝนตอเนื่อง จนถึงเดือนธันวาคมคมฝนจึงเริ่มลดลงอยางชัดเจน
                        ฤดูหนาว เริ่มตั้งแตกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ ซึ่งเปนฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัด

                  ปกคลุมประเทศไทย ทำใหอุณหภูมิลดลงทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็นเปนครั้งคราว โดยอุณหภูมิจะ
                  ลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม
                        จากการรวบรวมขอมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีตรวจวัดอากาศ

                  จังหวัดประจวบคีรีขันธในรอบ 29 ป (ชวงป พ.ศ. 2535 - 2564) ดังตารางที่ 3-5 ประกอบดวย
                  อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝน น้ำฝนใชการได จำนวนวันฝนตก
                  ความชื้นสัมพัทธ ศักยภาพการคายระเหยน้ำ อธิบายไดดังนี้
                          1) อุณหภูมิ
                            จังหวัดประจวบคีรีขันธ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดป 27.7 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุด

                  เฉลี่ยตลอดป 32.7 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน คือ 34.7 องศาเซลเซียส
                  และมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดป 24 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมคือ 21.2
                  องศาเซลเซียส

                          2) ปริมาณน้ำฝน
                            จังหวัดประจวบคีรีขันธ มีปริมาณน้ำฝนรวม 1,105.4 มิลลิเมตร โดยในเดือนตุลาคม
                  มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด 220.9 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ มีปริมาณน้ำฝนนอยที่สุด คือ 22.2 มิลลิเมตร
                          3) ปริมาณน้ำฝนใชการได (Effective Rainfall : ER)
                            ปริมาณน้ำฝนใชการได คือ ปริมาณน้ำฝนที่เหลืออยูในดิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใชประโยชน

                  ไดภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวดวยน้ำแลวไหลบาออกมากักเก็บในพื้นดิน
                  จังหวัดประจวบคีรีขันธ มีปริมาณน้ำฝนใชการได 891.9 มิลลิเมตร ในเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนใช
                  การไดมากที่สุด 142.8 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ ปริมาณน้ำฝนใชการไดนอยที่สุด คือ 21.4

                  มิลลิเมตร





                                                                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53