Page 107 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่สรวย
P. 107

3-64






                              มาตรา 7 การขยายหรือเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้กระท า

                  โดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่มิใช่เป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติทั้งหมด ให้มีแผนที่แสดง

                  เขตที่เปลี่ยนแปลงไป แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย

                            3)  พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ า พ.ศ. 2535
                              ในอดีตประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ

                  ทั้งพืชและสัตว์ จากจ านวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ท าให้มีการท าลายป่าไม้และล่าสัตว์ป่ามากขึ้น

                   เป็นผลให้แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกท าลาย สัตว์ป่าถูกล่าจนมีจ านวนลดลงอย่าง

                  รวดเร็ว หลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย พ.ศ. 2530 รัฐบาลไทยได้ตรากฎหมายว่าด้วยการ
                  สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ พ.ศ. 2530 เนื่องจากกฎหมาย

                  ฉบับนี้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มาตรการต่างๆ ในกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถให้การสงวนคุ้มครอง

                  สัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับจ าเป็นต้องเร่งขยายพันธุ์สัตว์ป่าและสงวนคุ้มครอง
                  สัตว์ป่าควบคู่กันไปและในปัจจุบันประเทศไทยมีข้อตกลงระหว่างประเทศในการร่วมมือ เพื่อสงวนและ

                  คุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่นอันเป็นทรัพยากรที่ส าคัญของโลก ดังนั้นเพื่อปรับปรุงให้มาตรการใน

                  การสงวนคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ จึงมีการ
                  ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้น เพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าด้วยการก าหนดเขต

                  พื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย มีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี

                  ผลทางอ้อมต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการคุ้มครองความหลากหลาย
                  ทางชีวภาพที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าไม้อีกด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ

                              (1) การอนุรักษ์สัตว์ป่า ให้การคุ้มครองสัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดย

                  การแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท คือ สัตว์ป่าสงวนจ านวน 15 ชนิด และสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งเป็นสัตว์

                  ที่ห้ามล่า ยกเว้นการกระท าโดยทางราชการที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 26
                              (2) การรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ด้วยการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

                  ตามมาตราที่ 33 มีจุดมุ่งหมายในด้านการควบคุมและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติด้านสัตว์ป่า ป่าไม้

                  แหล่งน ้า แหล่งอาหาร ตลอดจนสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความส าคัญต่อสัตว์ป่าให้คงอยู่
                  อย่างถาวร

                              (3) การป้องกันและปราบปรามด้วยการควบคุมการล่าและการค้าสัตว์ป่าให้อยู่ใน

                  ขอบเขตอันจ ากัด และมีการปราบปรามผู้ฝ่าฝืนกฎหมายด้านการล่า การเพาะพันธุ์ การครอบครอง

                  การค้า การน าเข้า ส่งออก น าผ่านและน าเคลื่อนที่
                            โดยมาตราส าคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้อยู่ในหมวด 6 “บริเวณและสถานที่ห้ามล่า

                  สัตว์ป่ า” (มาตรา 33-42) โดยมาตรา 33-34 เป็นเงื่อนไขการก าหนดที่ดินให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112