Page 146 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 146

3-98





                  การฟื้นฟูป่าต้นน ้าที่เสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้เป็นแหล่งดูดซับน ้าฝนและเพิ่มปริมาณ

                  น ้าต้นทุนในแต่ละลุ่มน ้า ควบคู่ไปกับการป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกทาลายพื้นที่ป่าและส่งเสริม

                  การปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน ้า

                    3.3.5  แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.

                  2560-2564)
                            โดยเน้นความต่อเนื่องกับแผนที่ผ่านมา โดยให้ความส าคัญกับการพัฒนาเกษตรกรให้

                  เป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างสมดุล มีการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรในชุมชนต่างๆ เพื่อผลักดัน

                  ให้สามารถด าเนินงานในรูปของธุรกิจเกษตรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยน้อมน าหลักปรัชญาของ
                  เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มาขยายผลและประยุกต์ใช้อย่าง

                  ต่อเนื่อง การพัฒนาการเกษตรในระยะต่อไป ถือเป็นก้าวส าคัญของการพัฒนาประเทศจากวิถีการท า

                  เกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การบริหารจัดการการเกษตรแบบสมัยใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
                  มาสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนในช่วง 5 ปีแรก (พ.ศ. 2560 – 2564) ของ

                  ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และการพัฒนาประเทศภายใต้
                  นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนี้ ซึ่งมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเกษตร ดังนี้

                            1)  ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

                              เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ มีความมั่นคงและภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ

                  เกษตรกรรม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจเกษตร
                  บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วง

                  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 – 10 โดยเน้นการขยายผลการท าการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

                  พอเพียง เสริมสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยการสร้าง
                  และพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร สร้างระบบสวัสดิการและด าเนินการปรับโครงสร้าง

                  หนี้สินให้กับเกษตรกร ส่งเสริมการท าเกษตรกรรมยั่งยืนให้เห็นผลในทางปฏิบัติโดยเฉพาะการท า

                  เกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

                  รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรสู่เกษตรกรมืออาชีพให้สามารถบริหารจัดการ
                  ฟาร์มแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต แปรรูป และการตลาด ตลอดจนสร้างการรวมกลุ่มเกษตรกรให้

                  เข้มแข็งและสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                            2)  ยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน
                              เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างโอกาสในการแข่งขันของสินค้าเกษตร ใช้การตลาด

                  น าการผลิตด้วยการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ มีการบริหารจัดการร่วมกัน
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151