Page 141 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 141

3-93





                  การขยายหรือเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มาตรา 35-42 เป็นเรื่องการคุ้มครองและการดูแลรักษา

                  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

                            มาตรา 33 เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรก าหนดบริเวณที่ดินแห่งใดให้เป็นที่อยู่อาศัยของ

                  สัตว์ป่า โดยปลอดภัยเพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่าก็ให้กระท าได้โดยตราเป็นพระราชกฤาฎีกา และให้มี
                  แผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่ก าหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่ก าหนดนี้เรียกว่า

                  “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า” ที่ดินที่ก าหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้นต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์

                  หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง

                            มาตรา 34 การขยายหรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                  ให้กระท าได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่มิใช่เป็นการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

                  ทั้งหมด ให้มีแผนที่แสดงเขตที่เปลี่ยนแปลงไปแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย

                            4)  พระราชบัญญัติสวนป่ า พ.ศ. 2535
                              เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการค้าในที่ดิน

                  ของรัฐและของเอกชนให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่า

                  ดังกล่าว อีกทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีงานท าและผลิตเพื่อเป็นสินค้า ตลอดจนเพิ่มพื้นที่
                  ท าไม้ให้มากยิ่งขึ้น จึงมีการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้

                            5)  ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497

                              เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในที่ดิน โดยวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอเอกสาร

                  แสดงการครอบครองหรือสิทธิในที่ดินรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการออกเอกสารดังกล่าว เช่น โฉนดและ
                  หนังสือรับรองการท าประโยชน์ ประมวลกฎหมายที่ดินให้อ านาจอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการ

                  กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลที่ดินของรัฐ ที่มิได้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานใด

                  หน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ภูเขาซึ่งการเข้าครอบครองหรือเข้าท าประโยชน์ต้องได้รับ

                  อนุญาตจากอธิบดีกรมที่ดิน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเสียก่อน นอกจากนี้ยังได้ก าหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน
                  หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย

                            6)  พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

                              แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความ
                  เดือดร้อนของเกษตรกรในการขาดที่ดินท ากิน ซึ่งสาระส าคัญของกระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

                  ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

                              (1) การจัดหาที่ดิน โดยน าที่ดินของรัฐมาด าเนินการ (มาตรา 26) เช่น ที่สาธารณประโยชน์
                  ที่จ าแนกออกจากป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเอกชนโดยการจัดซื้อหรือ

                  เวนคืนที่ดิน (มาตรา 29)
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146