Page 145 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 145

3-97





                  ชุมชนเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรงมาก

                  ขึ้นและข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความเข้มข้น ซึ่งจะส่งผล

                  ต่อแนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต
                              ดังนั้นการพัฒนาในระยะต่อไปจึงมุ่งเน้นการรักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ

                  การสร้างความมั่นคงด้านน ้า และการบริหารจัดการทรัพยากรน ้าให้มีประสิทธิภาพ การสร้างคุณภาพ

                  สิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ การเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพการ ลดก๊าซเรือนกระจกและขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                  ภูมิอากาศ และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และลดความ

                  สูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิด จากสาธารณภัย

                              แนวทางการพัฒนาส าคัญ ประกอบด้วย (1) การรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้าง

                  สมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม (2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
                  จัดการทรัพยากรน ้าเพื่อให้เกิดความมั่นคง สมดุล และยั่งยืน (3) ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่

                  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (4) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

                  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                            2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ

                              ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประเทศไทยต้องใช้ประโยชน์จากศักยภาพและภูมิ

                  สังคมเฉพาะของพื้นที่ และการด าเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อเสริมจุดเด่นในระดับภาคและจังหวัดใน
                  การเป็นฐานการผลิตและบริการที่ส าคัญ ประกอบกับการขยายตัวของประชากรในเขตเมืองจะเป็น

                  โอกาสในการกระจายความเจริญและยกระดับรายได้ของประชาชนโดยการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่า

                  อยู่และมีศักยภาพในการรองรับการค้าการลงทุนรวมทั้งลดแรงกดดันจากการกระจุกตัวของการพัฒนา
                  ในกรุงเทพฯ และภาคกลางไปสู่ภูมิภาค นอกจากนี้การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                  ยังเป็นโอกาสในการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในภูมิภาคของ

                  ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

                              ดังนั้น การพัฒนาจึงมุ่งเน้นในเรื่องการลดช่องว่างรายได้ระหว่างภาคและมีการ
                  กระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น การเพิ่มจ านวนเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเป็นเมืองน่าอยู่ส าหรับคน

                  ทุกกลุ่มในสังคม พื้นที่ฐานเศรษฐกิจหลักมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อ

                  สิ่งแวดล้อม และการเพิ่มมูลค่าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน

                              แนวทางการพัฒนาส าคัญ ประกอบด้วย การพัฒนาภาคเพื่อสร้างโอกาสทาง
                  เศรษฐกิจให้กระจายตัวอย่างทั่วถึง พัฒนาภาคเหนือให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง เช่น

                  ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งเป็นป่าต้นน้าในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยให้ความส าคัญกับ
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150