Page 147 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 147

3-99





                  ระหว่างภาครัฐเกษตรกร กับภาคเอกชน เพื่อให้สินค้าเกษตรได้มาตรฐานรองรับความต้องการของ

                  ตลาด ส่งเสริมการบริหารจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตร สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ด้าน

                  โลจิสติกส์สินค้าเกษตร และโซ่อุปทานให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการธุรกิจ
                  เกษตรส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยน าภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างเรื่องราว (Story) ให้กับ

                  สินค้าเกษตรและชุมชน เพื่อเป็นจุดขาย สร้างความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของสินค้าเกษตร

                  สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กลางและพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร

                  อย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนการจัดการความเสี่ยงที่จะกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร การ
                  ด าเนินงานดังกล่าวควรให้ความส าคัญกับการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน กับ

                  เกษตรกร รวมถึงส่งเสริมการค้าชายแดน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และความร่วมมือระหว่าง

                  ประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนและสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาระดับภูมิภาค

                            3)  ยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและ
                  นวัตกรรม

                              เพื่อพัฒนาการเกษตรของประเทศให้มีศักยภาพก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

                  โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้น
                  ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยก าหนดกรอบ

                  งานวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

                  การเกษตร และสร้างการเชื่อมโยงของข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงส่งเสริมการน างานวิจัย
                  เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์เน้นการเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตรของเกษตรกรรายย่อย

                  และกลุ่มเกษตรกร เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

                  อย่างยั่งยืน

                            4)  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ

                  ยั่งยืน
                              เป็นประเด็นส าคัญของการพัฒนาภาคเกษตรบนพื้นฐานการบริหารจัดการทรัพยากร

                  การเกษตรที่มีอยู่อย่างจ ากัด โดยเน้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรให้คงความหลากหลาย

                  ทางชีวภาพ สนับสนุนกิจกรรมเกษตรเชิงอนุรักษ์เพื่อคงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริม
                  การเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการทรัพยากรน ้าและพื้นที่ท ากินทางการเกษตร และ

                  สร้างภูมิคุ้มกันทางการเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152