Page 151 - Chumphon
P. 151

บทที่ 4


                                     กระบวนการวิเคราะหเพื่อจัดแผนการใชที่ดิน




                  4.1  นโยบายแหงรัฐ
                      กระบวนการวิเคราะหเพื่อจัดทำแผนการใชที่ดิน ไดนำหลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                        นโยบายแหงรัฐที่เกี่ยวของในการจัดทำแผนการใชที่ดินมีทั้งกฎหมาย ยุทธศาสตร แผนการปฏิรูป
                  ประเทศ แผนพัฒนาระดับตาง ๆ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560    ยุทธศาสตร 20
                  ป (พ.ศ. 2560-2579) แผนการปฏิรูปประเทศดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม : ทรัพยากรดิน
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) นโยบายและแผนการบริหาร

                  จัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560-2579) ดังนี้
                      4.1.1 ปรัชญาในการจัดทำแผนการใชที่ดินจังหวัด
                          ในการจัดทำแผนการใชที่ดินจังหวัดฉบับนี้ไดใช “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เปนหลัก
                  ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียง เปนปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยูและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ

                  ตั้งแตระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศใหดำเนินไปในทางสายกลาง
                  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อใหกาวทันตอโลกยุคโลกาภิวัตน ความพอเพียง หมายถึง
                  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเปนที่จะตองมีระบบภูมิคุมกันในตัวที่ดีพอสมควร

                  ตอการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะตองอาศัยความรอบรู
                  ความรอบคอบ และความระมัดระวังอยางยิ่งในการนำวิชาการตางๆ มาใชในการวางแผนและการดำเนินการ
                  ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะตองเสริมสรางพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจาหนาที่ของรัฐ
                  นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ใหมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตยสุจริต และใหมีความรอบรู
                  ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตดวยความอดทน ความเพียร มีสติ ปญญา และความรอบคอบ เพื่อใหสมดุลและ

                  พรอมตอการรองรับการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วและกวางขวาง ทั้งดานวัตถุ สังคม สิ่งแวดลอม
                  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกไดเปนอยางดี (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2553) โดยมีรายละเอียดดังนี้
                          พระราชดำริวาดวยเศรษฐกิจพอเพียง (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2553)

                              “...การพัฒนาประเทศจำเปนตองทำตามลำดับขั้น ตองสรางพื้นฐานคือ ความพอมี
                  พอกิน พอใชของประชาชนสวนใหญเบื้องตนกอน โดยใชวิธีการและอุปกรณที่ประหยัดแตถูกตอง
                  ตามหลักวิชาการ เมื่อไดพื้นฐานความมั่นคงพรอมพอสมควร และปฏิบัติไดแลว จึงคอยสรางคอยเสริม
                  ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับตอไป...” (18 กรกฎาคม 2517)

                              “เศรษฐกิจพอเพียง” เปนแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว
                  ที่พระราชทานมานานกวา 30 ป เปนแนวคิดที่ตั้งอยูบนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เปนแนวทาง
                  การพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไมประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล
                  การสรางภูมิคุมกันในตัวเอง ตลอดจนใชความรูและคุณธรรม เปนพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญ

                  จะตองมี “สติ ปญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอยางแทจริง
                              “...คนอื่นจะวาอยางไรก็ชางเขา จะวาเมืองไทยลาสมัย วาเมืองไทยเชย วาเมืองไทย
                  ไมมีสิ่งที่สมัยใหม แตเราอยูพอมีพอกิน และขอใหทุกคนมีความปรารถนาที่จะใหเมืองไทย พออยูพอกิน
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156