Page 139 - Chumphon
P. 139

3-67





                  อินทรียวัตถุจนถึงดินที่เปนเลนแข็ง ดวยความแตกตางของสภาพเนื้อดินนี่เอง ทำใหเกิดหมูไมที่แตกตาง

                  กันออกไป ดินที่เปนเลนละเอียดจะปรากฏไมในกลุมเบิกนำ (Pioneer species) จำพวกไมแสม
                  (Avicennia sp.) ไมลำพูทะเล (Sonneratia sp.) ตลอดจนไมโกงกาง (Rhizophora sp.) สวนบริเวณ
                  ที่ดินเลนแข็งตัวมากขึ้น มีการขึ้น ลงของน้ำนอย ก็จะปรากฏไมจำพวก ไมถั่วและไมพังกาหัวสุม

                  (Bruguiera sp.) ไมโปรง (Ceriop sp.) ไมตะบูน (Xyiocarpus sp.) ไมฝาด (Lumnitzera sp.) และไม
                  เหงือกปลาหมอ (Acanthus sp.) เปนตน พันธุไมพบพันธุไม ปาชายเลน จำนวน 8 วงศ 11 สกุล 19
                  ชนิด ที่พบมากที่สุดอยูในวงศ Rhizophoraceae ไดแก โกงกางใบใหญ รองลงมา คือ โปรงแดง ความ
                  หนาแนนเฉลี่ยรวมของตนไม เทากับ 290.33 ตน/ไร ขนาดเสนผานศูนยกลางเฉลี่ย และความสูงเฉลี่ย

                  เทากับ 10.38 เซนติเมตร และ  11.13 เมตร ตามลำดับ คาดัชนีความหลากหลายทางชนิดพันธุ
                  (Shannon – Wiener diversity index) เทากับ 0.8301 คาความชุกชุมทางชนิดพันธุ (Margalef’s
                  index) เทากับ 4.2249 และคาความสม่ำเสมอทางชนิดพันธุ (Pielou’s evenness) มีคาเทากับ 0.6492
                  พันธุไมที่มีคาดัชนีความสำคัญ (Important Value Index) สูงที่สุด คือ โกงกางใบใหญ มีคาเทากับ

                  52.94 รองลงมา คือ โปรงแดง โกงกางใบเล็ก ตาตุมทะเล และตะบูนขาว มีคาเทากับ
                  38.53,37.77,32.37 และ 26.45 ตามลำดับ
                             สัตวปาที่พบในจังหวัดชุมพร สวนมากเปนสัตวปาขนาดเล็กโดยเฉพาะนกน้ำอาศัยอยูเปน
                  จำนวนมากสามารถพบเห็นไดในหลายพื้นที่ทั้งในปาชายเลน ปาชายหาด และเกาะตางๆ สัตวที่สามารถ

                  พบเห็น ไดแก นกแอนกินรัง นกออก นกนางนวลแกลบทายทอยดำ นกนางนวลแกลบเล็ก นกยางเปย
                  นกยางทะเล นกยางกรอก นกกระเต็นนอยธรรมดา นกกระเต็นอกขาว นกกินเปยว นกชายเลนปากแอน
                  นกชายเลนปากโคง นกปากซอมหางพัด นกอีกอยเล็ก นกอัญชันอกเทา นกกวัก นกทะเลขาเดียว
                  นกกะปูดใหญ นกกะปูดเล็ก นกตบยุงหางยาว เหี้ย ตะกวด งูเหลือม กระรอกหลากสี คางคาวแมไกเกาะ

                  คางคาวกินแมลง ลิงแสมและสัตวฟนแทะจำพวกหนู เปนตน
                             สัตวน้ำที่พบในปาชายเลนไดแก ปลาตีน ปลาบู ปลากะพงแสม ปลาดุกทะเล ปลากะตักขาว
                  ปลากะรังปากแมน้ำ ปลากระบอก กุงแชบวย กุงกุลาดำ กุงหัวมัน กุงตะเข็บ ปูแสม ปูกามดาบ
                  ปูทะเล หอยกะทิ หอยขี้นก และหอยนางรม เปนตน (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง, 2555)


                           4) ปาชายหาด
                             ปาชายหาด (Beach forest) เปนสังคมพืชบริเวณชายฝงทะเลที่เปนทราย ไดรับไอเค็มจาก
                  ทะเล (Salt spray) ดังนั้นจึงพบปาชายหาดไดในบริเวณที่เปนหาดทราย ทั้งชายฝงบนแผนดินและบน
                  เกาะ ในปจจุบันปญหาการจับจองพื้นที่บริเวณหลังชายหาด เพื่อทำการเกษตร เชน ทำสวนมะพราวและ
                  การประกอบธุรกิจทองเที่ยว และที่พักอาศัยเชน ทำรีสอรท และรานอาหาร ไดทำลายพื้นที่ปาชายหาด

                  ลงเปนอันมาก ปาชายหาดที่ยังหลงเหลืออยูจึงเปนเพียงหยอมเล็กๆ เทานั้น พันธุไมที่ปรากฎในปา
                  ชายหาด มักมีลักษณะเปนพุมเตี้ย ลำตนคดงอ กิ่งสั้น แตกกิ่งกานมาก ใบหนาแข็งและมักมีหนาม ทั้งนี้
                  เนื่องจากอิทธิพลของลมทะเล และความแหงแลงของพื้นที่ ปจจุบันอุทยานแหงชาติหมูเกาะชุมพร

                  เหลือพื้นที่ปาชายหาดอยูไมมากนัก บริเวณชายหาดบนเกาะ และชายฝงในบางชวง ที่ไมมีการบุกรุกสวน
                  ใหญมักมีลักษณะเปนหยอมเล็กๆ
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144