Page 113 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 113

4-13





                          3.1  เขตชุมชน มีเนื้อที่ 411,980 ไร่ หรือร้อยละ 5.64 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ หมู่บ้าน

                  ตัวเมืองและย่านการค้า สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ สถานีรถไฟ สนามบิน สถานีขนส่ง สถานีบริการ
                  น้ ามัน สุสาน ถนน รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                (1) เร่งแก้ไขปัญหาขยะและน้ าเสียของชุมชน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                  และสุขภาพของประชาชน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นและกระจายอย่างทั่วถึง
                                (2) ส่วนที่เป็นชุมชนชนบท ไม้ผลผสมในหมู่บ้านควรพัฒนากระบวนการผลิตไม้ผลและ
                  พืชผัก โดยส่งเสริมการผลิตพืชปลอดสารพิษ เพิ่มศักยภาพการผลิตโดยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ด้วย
                  การปลูกพืชตระกูลถั่วในพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนการใช้

                  ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ตลอดจนการพัฒนาบ่อน้ าในไร่นาสนับสนุนการปลูกไม้ผล ปลูกพืชสวนผสมและพืชผัก
                  ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
                                (3) ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ภาคเอกชน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

                  ตระหนักถึงความส าคัญของการวางผังเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดท าผังเมืองรวม
                                (4) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม
                  อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นบังเกิดผลพลอยได้ที่ตามมา เช่น การ
                  ท่องเที่ยวการบริหารจัดการพัฒนาและอนุรักษ์


                          3.2  เขตอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 16,307 ไร่ หรือร้อยละ 0.22 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                  โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร และ
                  เหมืองแร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในทุกอ าเภอของจังหวัดเชียงราย
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ควบคุมมลพิษทางน้ าจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยการจัดท าระบบการบ าบัดน้ า

                  เสียที่ถูกต้องและก าหนดนโยบายให้ผู้ก่อมลพิษต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการด าเนินการแก้ไขปัญหา
                  และเสียค่าใช่จ่ายในการจัดการมลพิษ
                                (2) หมั่นตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบ าบัดน้ าเสียของโรงงาน และควบคุมการ

                  ระบายน้ าเสียอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสกปรกของน้ าก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ าสาธารณะ
                                (3) ส่งเสริมและผลักดันให้สถานประกอบการทุกขนาดเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็น
                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม
                                (4) ควบคุมให้ผู้ประกอบการกิจการเหมืองแร่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแร่หรือ
                  กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดหมั่นตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบ าบัดน้ าเสียของเหมืองแร่และ

                  ควบคุมการระบายน้ าเสียเพื่อลดความสกปรกของน้ าก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ าสาธารณะ
                                (5) ส่งเสริมการท าอุตสาหกรรมแร่สีเขียวสะอาดตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่
                  ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดโดยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ มีมาตรการที่ดีและ

                  ปฏิบัติตามมาตรการ เงื่อนไข ระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
                                (6) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                  และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท าเหมืองแร่ ตลอดจนการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการท าเหมืองแร่ให้มีการใช้
                  ประโยชน์ตามศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของชุมชน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118