Page 108 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 108

4-8





                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                (1) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา
                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลดความ
                  เสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง

                                (2) คัดเลือกข้าวพันธุ์ดีและมีราคาสูงในการเพาะปลูก
                                (3) ควรปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดหรือ
                  ไถกลบตอซัง เพื่อเพิ่มความสามารถการดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ของดิน ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี
                                (4) ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการใช้ที่ดินในรูปแบบเกษตรผสมผสานตาม
                  แนวทางทฤษฎีใหม่และเกษตรพอเพียง โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นและนา

                  ข้าวร่วมกัน
                              2) เขตปลูกพืชไร่ มีเนื้อที่ 212,576 ไร่ หรือร้อยละ 2.91 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่
                  ในเขตนี้เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนละเอียดถึง

                  ดินร่วนหยาบ เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  ปานกลาง มีความเหมาะสมปานกลางส าหรับการปลูกพืชไร่ สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืช
                  ไร่ เช่น ข้าวโพดและสับปะรด พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่ที่อาศัยน้ าฝน
                  เป็นหลัก ส่วนใหญ่พบกระจายตัวในทุกอ าเภอของจังหวัดเชียงราย ยกเว้นอ าเภอแม่ฟ้าหลวง

                              รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                              (1) ควรมีการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น
                  ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
                              (2) ควรเร่งพัฒนาระบบชลประทานเพื่อปรับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการปลูก

                  พืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผัก
                              (3) ควรท าการเพาะปลูกพืชในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะส าหรับพืช
                              (4) ด าเนินการพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กในพื้นที่เขตนี้ รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ
                  แหล่งน้ าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ล าคลองสาธารณะ ให้มีการกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น

                            3)  เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 121,776 ไร่ หรือร้อยละ 1.67 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ในเขต
                  นี้ที่เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนละเอียด
                  ถึงดินร่วนหยาบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง มีความ

                  เหมาะสมปานกลางถึงสูงส าหรับการปลูกไม้ผล บางบริเวณเป็นที่ลุ่มซึ่งมีการจัดการพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ
                  เพื่อป้องกันปัญหาน้ าท่วม เช่น การท าคันดิน การยกร่องและการพูนโคน เป็นต้น สภาพการใช้ที่ดินใน
                  ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ล าไย และลิ้นจี่ ส่วนใหญ่พบกระจายตัวในทุกอ าเภอของจังหวัดเชียงราย
                  ยกเว้นอ าเภอแม่ฟ้าหลวง
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                (1) ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้
                  ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ร่วมกับการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อป้องกันการ
                  ชะล้างพังทลายของดินและรักษาความชุ่มชื้นของดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝก
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113