Page 86 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 86

5-6





                  ในปัจจุบันเป็นนาข้าว พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกข้าว โดยอาศัยน้ าฝน

                  เป็นหลัก ส่วนใหญ่พบในอ าเภออัมพวา และอ าเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา

                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลด
                  ความเสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง
                                (2) คัดเลือกข้าวพันธุ์ดี และมีราคาสูงในการเพาะปลูก
                                (3) ควรปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด
                  หรือไถกลบตอซัง เพื่อเพิ่มความสามารถการดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ของดิน ร่วมกับการใช้

                  ปุ๋ยเคมี
                                (4) ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการใช้ที่ดินในรูปแบบเกษตรผสมผสาน
                  ตามแนวทางทฤษฎีใหม่และเกษตรพอเพียง โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น

                  และนาข้าวร่วมกัน

                              2)  เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 40,829 ไร่ หรือร้อยละ 15.68 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ใน
                  เขตนี้เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว เป็นดินลึก มีการระบายค่อนข้างเลว
                  ถึงเลวมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงสูง มีความเหมาะสมระดับปานกลางถึงสูงส าหรับ
                  การปลูกไม้ผล สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น มะพร้าว ลิ้นจี่ มะม่วง กล้วย และส้ม

                  โอ เป็นต้น ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในทุกอ าเภอของจังหวัด และพบมากในเขตอ าเภอเมือง
                  สมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้

                  ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ร่วมกับการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อป้องกัน
                  การชะล้างพังทลายของดินและรักษาความชุ่มชื้นของดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝก
                                (2) ส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ การผลิตพืชปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี

                  โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าของ
                  ผลผลิต
                                (3) พัฒนาศักยภาพการผลิต โดยควบคุมกระบวนการผลิตไม้ผลให้ถูกต้องตามระบบ
                  GAP จัดการดินและใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดินและปุ๋ย
                  โปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืช รวมถึงการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้องปลอดภัย

                                (4) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา
                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลดความ
                  เสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง

                                (5) ควรท าทางระบายน้ าบริเวณที่เป็นที่ค่อนข้างลุ่ม เพื่อไม่ให้น้ าท่วมขัง
                                (6) ควบคุมคุณภาพและสารตกค้างของผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนด
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ส่งออกต่างประเทศ
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91