Page 84 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 84

5-4





                  เพื่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรเป็นหลัก เป็นเขตที่มีความส าคัญต่อเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับชีวิต

                  ความเป็นอยู่ของเกษตรกร และประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดสมุทรสงคราม สามารถแบ่งพื้นที่ตามความ
                  เหมาะสมและศักยภาพของพื้นที่ได้เป็น 5 เขต ได้แก่ เขตเกษตรกรรมชั้นดี เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพ
                  การผลิตสูง เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ า เขตปศุสัตว์ และเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า โดยมี

                  รายละเอียดดังนี้
                          2.1  เขตเกษตรกรรมชั้นดี มีเนื้อที่ 68,909 ไร่ หรือร้อยละ 26.46 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่

                  เขตเกษตรกรรมนี้ เป็นบริเวณที่อยู่นอกเขตที่มีการประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมาย หรือเป็นพื้นที่
                  ที่ได้รับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เขตเกษตรกรรมนี้ เกษตรกรมีการใช้พื้นที่ด้านการท า
                  เกษตรกรรมเป็นหลักเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทานโครงการส่งน้ าและบ ารุงรักษาด าเนินสะดวก

                  ชลประทานโครงการบ ารุงรักษาราชบุรีฝั่งขวา ชลประทานโครงการส่งน้ าและบ ารุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย
                  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากการส่งน้ าช่วยในการปลูกพืช โดยเฉพาะเวลาฝนทิ้งช่วงและช่วยระบายน้ า
                  ในช่วงฤดูน้ าหลาก หรือเป็นเขตที่มีการปลูกพืช GI ของไทย (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ซึ่งพืช GI ของ
                  จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  ได้แก่ ส้มโอขาวใหญ่

                  ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม และพริกบางช้าง มีชั้นความเหมาะสมในการปลูกพืชสูง (S1) ถึงปานกลาง (S2)
                  เขตเกษตรกรรมนี้มีศักยภาพสูงในการผลิต และสามารถพัฒนาการผลิตทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
                  เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นได้มากกว่าเขตอื่นในพื้นที่จังหวัด เขตเกษตรกรรมชั้นดี สามารถแบ่งได้
                  เป็น 3 เขตย่อย ได้แก่ เขตท านา เขตปลูกไม้ผล และเขตปลูกไม้ยืนต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

                              1) เขตท านา มีเนื้อที่ 2,296 ไร่ หรือร้อยละ 0.88 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ในเขตนี้

                  เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเหนียวปนทรายแป้ง เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ าเลว
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง มีความเหมาะสมสูงส าหรับการท านา สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันเป็น
                  นาข้าว พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรม เพื่อการปลูกข้าวที่อาศัยระบบชลประทาน ส่วนใหญ่
                  พบในเขตอ าเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

                              2) เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 66,466 ไร่ หรือร้อยละ 25.52 ของเนื้อที่สภาพพื้นที่ในเขตนี้

                  เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทรายแป้ง เป็นดินลึกมาก มีการ
                  ระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลวมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงสูง มีความเหมาะสมปานกลางถึง
                  สูงส าหรับปลูกไม้ผล สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น มะพร้าว ลิ้นจี่ มะม่วง กล้วย

                  และส้มโอ เป็นต้น ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในเขตอ าเภออัมพวา และอ าเภอบางคนที จังหวัด
                  สมุทรสงคราม

                              3) เขตปลูกไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 147 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัดสภาพพื้นที่ใน
                  เขตนี้เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ าเลวมาก
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง มีความเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกไม้ยืนต้น สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน

                  ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น เช่น สนประดิพัทธ์ เป็นต้น พบกระจายตัวอยู่ในเขตอ าเภออัมพวา จังหวัด
                  สมุทรสงคราม
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89