Page 13 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 13

1-5






                  วัตถุต้นก าเนิดและระยะเวลา ความเหมาะสมต่อการผลิตพืชของดินแตกต่างกันเนื่องมาจากลักษณะและ

                  สมบัติทางกายภาพ เคมีชีวภาพ และสัณฐานวิทยา (คณะกรรมการจัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2551: 128)

                        1.5.3 กำรใช้ที่ดิน
                            “การใช้ที่ดิน” หมายถึง การจัดการที่ดินตามที่มนุษย์ต้องการ ซึ่งรวมทั้งการใช้ที่ดินใน
                  ชนบท เขตชานเมือง และเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น (FAO, 1993)
                            “การใช้ที่ดิน” หมายถึง ผลของความพยายามของมนุษย์ ในการด าเนินการเปลี่ยนแปลง

                  ลักษณะทางกายภาพพื้นที่ของทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง (Vink, 1975)

                        1.5.4 ชุดดิน (Soil Series) หมายถึง หน่วยในขั้นต่ าสุดของการจ าแนกในระบบอนุกรมวิธานดิน
                  ซึ่งมีข้อจ ากัด พิสัยของลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินสม่ าเสมอมากกว่าหน่วยในขั้นอนุกรมวิธานที่สูงกว่า
                  ในการจ าแนกชุดดินอาศัยลักษณะต่างๆ เช่น ความหนาของชั้นดิน การจัดเรียงของชั้นดิน โครงสร้างดิน
                  สีดิน เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน การยึดตัวของดิน ปริมาณคาร์บอเนต เกลือชนิดต่างๆ ฮิวมัส เศษหิน

                  องค์ประกอบของแร่ในดินและวัตถุต้นก าเนิดดิน ชุดดินเป็นหน่วยแผนที่ดินที่ใช้แพร่หลายมาก
                  โดยเฉพาะในแผนที่แบบละเอียด ซึ่งส าคัญมากที่ช่วยในการถ่ายทอดข้อมูลดินและงานวิจัยจากที่หนึ่งไป
                  ยังอีกที่หนึ่ง การให้ชื่อชุดดิน ใช้ชื่อสถานที่พบครั้งแรก เช่น ชื่อต าบล อ าเภอ จังหวัด หรือชื่อของบริเวณ

                  ที่มีลักษณะเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)

                        1.5.5 กลุ่มชุดดิน หมายถึงการจัดชุดดิน (Soil Series) ที่ใช้ระบบการจ าแนกดินแบบใหม่ของ
                  สหรัฐอเมริกาหรือระบบอนุกรมวิธาน (Soil Taxonomy) เป็นบรรทัดฐานระบบนี้เป็นระบบธรรมชาติ
                  (Natural System)โดยยึดถือลักษณะและสมบัติของดินที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
                  วิวัฒนาการของดิน เนื่องมาจากอิทธิพลของปัจจัย 5 ประการในการควบคุมการก าเนิดดิน คือ

                  ภูมิอากาศ พืชพรรณ สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ และเวลา โดยน าลักษณะเด่นของชุดดิน (soil series)
                  ระดับกลุ่มดินใหญ่ (Great Group) ระดับหนึ่งของการจ าแนกในระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นดินอยู่
                  ระหว่างอันดับย่อยกับกลุ่มดินย่อย ในการจ าแนกกลุ่มดินใหญ่อาศัยลักษณะหรือสมบัติที่ส าคัญบางอย่าง
                  เช่น ระบบความชื้นดิน ระบอบอุณหภูมิดิน สภาพการอิ่มตัวเบส และชั้นดินวินิจฉัย (diagnostic

                  horizon)เพื่อสะดวกในการจัดการดินด้านการเกษตร (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา,
                  2551)

                        1.5.6 ควำมอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil Fertility) หมายถึง ปริมาณและชนิดของธาตุอาหารพืช
                  ที่จ าเป็นที่มีอยู่ในดิน มีมากน้อยและเป็นสัดส่วนกันอย่างไรมากพอหรือขาดแคลนสักเท่าใด พืชสามารถ
                  ดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ยากหรือง่าย การประเมินความเหมาะสมของคุณสมบัติด้านนี้ของดิน

                  เราสามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการต่างๆ การที่เราปลูกพืชในดิน ก็เนื่องจากดินเป็นแหล่งที่มาของธาตุ
                  อาหารพืชที่ส าคัญถึง 13 ธาตุด้วยกัน นักวิชาการกล่าวว่า ธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับการเจริญเติบโต
                  ของพืชอย่างน้อยที่สุดมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกันเพียง 3 ธาตุเท่านั้นคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนที่

                  พืชได้มาจากน้ าและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ส่วนธาตุที่เหลือพืชจะได้มาจากดิน (คณาจารย์
                  ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18