Page 17 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 17

บทที่ 2

                                                      ข้อมูลทั่วไป




                  2.1  ประวัติ และเอกลักษณ์

                        สกลนคร นครแห่งการแสวงหาได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุ 5 แห่ง แหล่งอารยธรรม
                  3,000 ปี ตามต านานเล่าว่า เมื่อสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองหนองหารหลวงในอดีต หรือสกลนคร
                  ในปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นในยุคที่ขอมมีอ านาจในดินแดนนี้ โดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทรปัฐนคร ผู้ซึ่ง
                  อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ชาวเขมรมาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหารหลวง มีเจ้าปกครองเรื่อยมาจนถึง

                  สมัยพระยาสุวรรณภิงคาร เวลานั้นเกิดฝนแล้งข้าวยากหมากแพง เจ้าผู้ครองนครจึงต้องพาราษฎรอพยพ
                  กลับเขมร หนองหารจึงกลายเป็นเมืองร้างอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลงเมืองหนองหารหลวง
                  ตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อว่า "เมืองเชียงใหม่หนองหาร" ซึ่งแสดงว่า

                  เมืองหนองหารมีความสัมพันธ์กับเวียงจันทน์เสมอมา ก่อนที่อิทธิพลรัตนโกสินทร์จะเข้าไปถึงสกลนคร
                  เมื่อประมาณ พ.ศ. 2321-2322
                        ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏเจ้าเมืองชื่อพระบรมราชา (มั่ง) เจ้าเมืองสกลนครในขณะนั้น
                  ไปเข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเป็นกบฏยกเข้ามากวาดต้อนผู้คนทางภาคอีสาน พระบรมราชา (มั่ง) เข้าข้าง
                  เจ้าอนุวงศ์ อพยพครอบครัวไปอยู่มหาชัยก่องแก้ว เหลือแต่กรรมการเมืองผู้น้อยทิ้งไว้เฝ้าเมือง ต่อมาเมื่อ

                  พ.ศ. 2373 โปรดเกล้าฯให้พระยาสุนทราชวงศา (ปุต) เจ้าเมืองยโสธรซึ่งท าความดีความชอบเมื่อครั้ง
                  ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์มารักษาเมืองสกลทวาปี
                        ต านานเมืองหนองหาร ครั้งหนึ่งยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อนครเอกชะทีตา มีพระยาขอมเป็น

                  กษัตริย์ ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็นพระยาขอมมีพระธิดาสาวสวยนามว่า "นางไอ่ค า" ซึ่งเป็นที่รัก
                  และหวงแหนจึงสร้างปราสาท 7 ชั้น ให้อยู่พร้อมเหล่าสนมนางก านัลคอยดูแลอย่างดี ขณะเดียวกันยังมี
                  เมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อเมืองผาโพง มีเจ้าชายนามว่าท้าวผาแดงเป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ได้ยินกิตติศัพท์
                  ความงามของธิดาไอ่ค ามาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้าจึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจรถึงนครเอกชะทีตา

                  และติดสินบนนางสนมก านัลให้น าของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่ค าด้วยผลกรรมที่ผูกพันมาแต่ชาติปางก่อน
                  นางไอ่ค าและท้าวผาแดงจึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกันจนในที่สุดทั้งสองก็อภิรมย์สมรักกัน ก่อนท้าวผาแดงจะ
                  จากไปเพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอนางไอ่ค า ทั้งสองได้คร่ าครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่าน
                  ไปถึงเดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการท าบุญบั้งไฟบูชาพญาแถน พระ

                  ยาขอมจึงได้ประกาศบอกไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่าบุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย
                  ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดท าบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่ค าด้วย ข่าว
                  นี้ได้ร่ าลือไปทั่วสารทิศทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างๆ ก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูง
                  ยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาล ก็ได้ยินร่ าลือจนสิ้น จนท้าวพังคี

                  เจ้าชายพญานาคเมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือก มาดูโฉมงามนางไอ่ค า ด้วยในวัน
                  งานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟปรากฏว่าบั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันด าอยู่ 3 วัน 3 คืน จึง
                  ระเบิดออกเป็นเสี่ยงๆ ท าให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลงขณะเดียวกันท้าวพังคีพญานาคที่ปลอมเป็น

                  กระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารักมาไต่เต้นอยู่บนยอดไม้ข้างปราสาทนางไอ่ค า ก็ปรากฏร่างให้
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22