Page 18 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 18

2-2






                  นางไอ่ค าเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้จึงบอกให้นายพรานยิงเอาตัวตายมาในที่สุด

                  กระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้แปด
                  พันเกวียนคนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง" จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้นจนผู้คนแตกตื่นมาดู
                  กัน และจัดการแล่เนื้อนั้นแบ่งกันไปกินทั่วเมือง ด้วยว่าเป็นอาหารทิพย์ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมือง

                  รังเกียจไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้ พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตายแล่เนื้อไปกิน
                  กันทั้งเมือง จึงโกรธแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นเองขณะที่ชาวเมืองเอกชะทีตาก าลังหลับไหล
                  เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้ากระหน่ าลงมาอย่างหนักอยู่มิได้ขาด
                  แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อยท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนีตาย เหล่าพญานาคผุด
                  ขึ้นมานับหมื่นนับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3-4 แห่ง ซึ่งเป็นที่

                  อยู่ของพวกแม่ม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตาย ฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออก
                  จากเมืองโดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่ค าไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้าม้าเท่าใดก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ท า
                  ให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่ค าพร้อมม้าแสนรู้ชื่อ "บักสาม"จม

                  หายไปใต้พื้นดิน รุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬารก็อันตรธานหายไปสิ้น คงเห็นแต่พื้นน้ า
                  กว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้นเหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3-4
                  แห่ง ในผืนน้ าอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนองหารหลวงดังปรากฏในปัจจุบัน
                        ประวัติเมืองหนองหารหลวงไม่มีหลักฐานปรากฏไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากผู้เฒ่าผู้แก่ของ

                  เมืองได้จดจ าถ้อยค าของพระบรรเทากรมการเมืองขุขันธ์คนเก่ากับเพี้ยศรีคอนชุม ซึ่งเป็นหัวหน้า
                  ข้าพระธาตุเชิงชุมว่าหลังจากพระยาสุวรรณภิงคารสิ้นพระชนม์ลง เหล่าเสนาข้าราชการผู้ใหญ่ชาวเขมร
                  ก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองเป็นเจ้าเมืองหนองหารหลวง ต่อกันมาเรื่อยๆ หลายยุคหลายสมัย
                  ต่อมาได้เกิดทุกข์ภัยฝนแล้งมา 7 ปี ราษฎรไม่ได้ท านา เกิดความอดอยากข้าวปลาอาหารไม่มีจะกิน

                  เจ้าเมืองอพยพราษฎรอยู่ที่เมืองหนองหารหลวงไปอยู่ที่เมืองเขมรกันหมด ทิ้งให้เมืองหนองหารหลวง
                  กลายเป็นเมืองร้าง
                        ต่อมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรง
                  พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งรักษาพระธาตุเชิงชุม จนมี

                  ผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็นเมืองสกลทวาปี โดยตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์
                  เป็นพระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก
                        ต่อมา ปี พ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้

                  เตรียมก าลังป้องกันเมือง เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่า
                  เจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมืองปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์) ล่วงล้ าได้โดยง่าย จึงสั่งให้น าตัว
                  พระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่กบินทร์บุรี
                  บ้างประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกศรีคอนชุม ต.ธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน
                  บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยาง และบ้านพรรณนา

                  รวม 10 ต าบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น ในสมัยต่อๆ มาได้มีราชวงศ์ค าแห่งเมือง
                  มหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ าโขงได้อพยพข้ามแม่น้ าโขงเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารขอสร้าง
                  บ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลทวาปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณา
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23