Page 39 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 39

2-21






                  2.7  สภาพเศรษฐกิจและสังคม

                        2.7.1 ด้านเศรษฐกิจและสังคม
                            สืบเนื่องจากการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้น า
                  ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จ านวนมาก โดยที่ดินเป็นปัจจัยหลักในการผลิต และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

                  ของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและบริการ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ดินขึ้น 2 ประการ คือ (1) ปัญหา
                  การใช้ที่ดิน และ (2) ปัญหาการถือครองที่ดิน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                  ของจังหวัดลพบุรี จ าเป็นต้องก าหนดกฎเกณฑ์ โดยจัดท าแผนการใช้ที่ดินของจังหวัดลพบุรีขึ้น ซึ่งการ

                  จัดท าแผนการใช้ที่ดินจังหวัดดังกล่าวจะต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมมา
                  พิจารณาร่วมกับข้อมูลด้านอื่น ๆ มีสาระส าคัญ ดังนี้
                            1) ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจและสังคม
                              1.1) ประชากรและโครงสร้างประชากร

                                  ใน พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรีมีประชากร 755,556 คน ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก
                  พ.ศ. 2553 ในอัตราร้อยละ 0.05 ประชากรลดลงเป็นล าดับที่ 4 จากทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท
                  สิงห์บุรี  อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี จากการคาดประมาณประชากรของจังหวัดลพบุรีใน
                  อนาคตถึง พ.ศ. 2577 คาดว่าประชากรจะมีจ านวนลดลงเหลือ 749,889 คน  (ตารางที่ 2-4 และรูปที่ 2-5)

                                  ประชากรจ าแนกรายอ าเภอของจังหวัดลพบุรีพบว่าอ าเภอเมืองลพบุรีมี
                  ความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุด 443.58 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมา ได้แก่ อ าเภอท่าวุ้ง
                  (202.66 คนต่อตารางกิโลเมตร) และอ าเภอพัฒนานิคม (131.78 คนต่อตารางกิโลเมตร) เมื่อพิจารณา
                  อัตราการเปลี่ยนแปลงประชากรตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ถึง 2562 อ าเภอพัฒนานิคมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก

                  ที่สุด ด้วยอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 รองลงมา คือ อ าเภอท่าหลวง และอ าเภอล าสนธิ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
                  เท่ากัน คือ (ร้อยละ 0.45) อ าเภอที่มีแนวโน้มการลดลงของประชากรมากที่สุด คือ อ าเภอบ้านหมี่
                  มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 0.58 (ตารางที่ 2-5 และรูปที่ 2-6)

                              1.2) โครงสร้างเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตร
                                  ในส่วนของครัวเรือนเกษตรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรภายในกลุ่มภาคกลาง
                  จ านวนครัวเรือนเกษตรมากที่สุด คือ จังหวัดลพบุรี ตามมาด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท
                  จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี ตามล าดับ โดยค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของครัวเรือน
                  เกษตรของจังหวัดลพบุรีอยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกันเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง มี

                  การเพิ่มขึ้นอยู่ร้อยละ 5.41 สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในจังหวัดลพบุรีพบว่า รายได้ต่อครัวเรือน
                  ของจังหวัดลพบุรีลดลงร้อยละ 4.07 แต่เมื่อพิจารณารายอ าเภอพบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย
                  เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ าเภอล าสนธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 รองลงมาได้แก่ อ าเภอท่าหลวง (ร้อยละ 10.83)

                  และอ าเภอโคกส าโรง (ร้อยละ 5.39) ตามล าดับ รายได้ลดลงมากที่สุดที่อ าเภอสระโบสถ์ลดลงร้อยละ
                  70.53 รายจ่ายต่อครัวเรือนของจังหวัดลพบุรีมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 1.48 แต่เมื่อพิจารณารายอ าเภอ
                  พบว่า รายจ่ายครัวเรือนส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่อ าเภอล าสนธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ
                  229.59 รองลงมาได้แก่ อ าเภอพัฒนานิคม (ร้อยละ 26.62) และอ าเภอโคกส าโรง (ร้อยละ 12.09)

                  ตามล าดับ และเมื่อพิจารณาถึงขนาดครัวเรือนพบว่า ครัวเรือนขนาด 1-2 คน ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44