Page 134 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 134

5-10





                                       - แนวทางการจัดการด้านการผลิตไม้ผล ควรใช้หลักการเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการ

                  ใช้สารเคมี โดยส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ มีการจัดสร้างแหล่งน้ ากักเก็บ

                  เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะแล้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต
                                  5.2.2.2 เขตพื นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิต มีเนื้อที่ 1,438,584 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ  37.13 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นพื้นที่ท าการเกษตรโดยอาศัยน้ าฝนในการเพาะปลูก อยู่นอกเขต

                  ชลประทาน ดินมีความเหมาะสมและศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรปานกลาง (S2) ถึงสูง (S1) แต่อาจ
                  มีข้อจ ากัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการ สภาพพื้นที่ราบลุ่มมีการเพาะปลูกข้าว ไม้ผล และไม้ยืนต้น

                  พื้นที่ท าการเกษตรในเขตนี้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด และเป็นพื้นที่ส าคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจ
                  ศักยภาพและความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่เขตนี้แบ่งเป็น 3 เขตย่อย ดังนี้

                                (1) เขตท านา มีเนื้อที่ 63,758 ไร่ หรือร้อยละ 1.65 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นที่ราบลุ่มถึง

                  ลูกคลื่นลอนลาด เนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวถึงดินร่วนปนทราย ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางถึงสูง
                  ในการท านาโดยอาศัยน้ าฝน ครอบคลุมอ าเภอโคกเจริญ อ าเภอสระโบสถ์ อ าเภอชัยบาดาล อ าเภอโคก

                  ส าโรง อ าเภอบ้านหมี่ และอ าเภอท่าวุ้ง
                                  ข้อเสนอแนะการใช้พื นที่เขตท านา

                                       - การเพิ่มศักยภาพพื้นที่เพื่อการท านา ควรพัฒนาแหล่งน้ าโดยจัดท าบ่อน้ าในไร่นา

                  เพื่อกักเก็บน้ าลดความเสียหายกรณีฝนทิ้งช่วง
                                       - การคัดเลือกข้าวพันธุ์ดีจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้

                                       - การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพ ควบคู่กับการใช้

                  ปุ๋ยเคมีในสัดส่วนที่เหมาะสม
                                       - ท าการเกษตรผสมผสานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้วยการขุดบ่อเลี้ยงปลา

                  ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้น ร่วมกับการท านาข้าว
                                (2) เขตพื นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการอุตสาหกรรม การก าหนดเขตนี้เพื่อรองรับภาค

                  ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะมันส าปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และ

                  ทานตะวัน มีเนื้อที่  768,086 ไร่ หรือร้อยละ 19.82 เป็นพื้นที่ดอนที่มีความเหมาะสมของดินในการปลูกพืช
                  ไร่ ปัจจุบันเป็นที่ไร่ร้าง/นาร้าง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชไร่และการท านาข้าวสลับพืชไร่ กระจาย

                  ทั่วจังหวัด
                                  ข้อเสนอแนะการใช้พื นที่เขตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอุตสาหกรรม
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139